อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติกแม่พิมพ์โลหะ ณ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติกแม่พิมพ์โลหะ

8 ธันวาคม 2564  ประมวลภาพกิจกรรม (ความคืบหน้า) อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติกแม่พิมพ์โลหะ ณ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

คณะทำงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา ร่วมกันทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักยกแคร่ ณ องค์การบริหารส่วนตำปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

กิจกรรมลงแปลงปลูกผักยกแคร่ ณ องค์การบริหารส่วนตำปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564  คณะทำงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลปริก นำโดยคุณพิพัฒน์ รัตนมณี หัวหน้ากองฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ร่วมกันทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักยกแคร่ ณ องค์การบริหารส่วนตำปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

อบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร” จากพริกแกงสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงสมุนไพรบ้านควนเสม็ด

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร"

วันที่ 7 ธันวาคม 2564  โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร” จากพริกแกงสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงสมุนไพรบ้านควนเสม็ด ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2564 ซึ่งในวันนี้จะเป็นการแปรรูปอาหารจากพริกแกงควนเสม็ดเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพริกแกงเป็นคั่วกลิ้งไก่ โดยมีคุณจรวย เพ็ชรแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงสมุนไพรบ้านควนเสม็ด ร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้

อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติก แม่พิมพ์โลหะ ณ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติกแม่พิมพ์โลหะ ณ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

6 ธันวาคม 2564 ผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการ พร้อม ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข รองผู้อำนวยการ นำทีมบุคลากรสถาบันฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำผ้าบาติก แม่พิมพ์โลหะ ระหว่างวันที่ 6-11 ธันวาคม 2564 ณ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการ 1ตำบล 1มหาวิทยาลัย

ให้ข้อมูลเรื่องชุดแต่งกายโนราแก่ทีมงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ให้ข้อมูลเรื่องชุดแต่งกายโนราแก่ทีมงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

วันที่ 6 ธันวาคม 2564 นายกำพล เลื่อนเกื้อ นักวิชาการ​ศึกษา​ ประจำสถาบันวัฒนธรรม​ศึกษา​กัลยาณิวัฒนา และนายหนังประเสริฐ รักษ์วงศ์ เลขาสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ร่วมให้ข้อมูลเรื่องชุดแต่งกายโนราแก่ทีมงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา เพื่อจะนำไปต่อยอดเป็นแฟชั่นเครื่องแต่งกายในในระดับสากลต่อไป ณ สถาบันวัฒนธรรม​ศึกษา​กัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

งานดนตรีเทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2564 ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

งานดนตรีเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙

5  ธันวาคม 2564  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการ และบุคลากรสถาบันฯ นำการแสดงดนตรีไทยร่วมสมัยและการแสดงเทิดพระเกียรติ “เทพบันเทิง” ร่วมงานดนตรีเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙ และในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ร่วมขับร้องประสานเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ “ชะตาชีวิต” เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศ เพื่อต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนของโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ และทีมทำงาน 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ร่วมเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศ เพื่อต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนของโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต่อไป

อบรม “การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพื้นที่นา เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน” ณ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564  ผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา และผู้จัดการโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี  พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ลงพื้นที่จัดอบรม “การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพื้นที่นา เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน” ระหว่างวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2564  ให้ทีมงาน1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ต.ท่าข้าม อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คือ นางสาวมยุรา เหมสารา ,นางรงรอง แย้มพรายวงศ์ และนางฮัปเสาะ กาเร็ง ในการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์พันธ์ข้าวท้องถิ่นเป็นข้าวตัง มัสมั่นทอด ข้าวตู ถั่วแผ่นข้าวห่อสาหร่าย กาละแม ข้าวเมี่ยงคำ ข้าวดอกจอก คุกกี้ข้าวหอม และขนมครก และร่วมถอดบทเรียนเพื่อพัฒนา ต่อยอดกลุ่มเครือข่ายการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากโหนด นา ป่า ไผ่ และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มชาวบ้านจากภูมิปัญญาของปัตตานีเพื่อพลิกฟื้นคืนความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจท้องถิ่นและคงอัตลักษณ์ของปัตตานีต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “การเดินทางของปือลางี ผ้ารุ้งหลากสีของดีชายแดนใต้”

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด  ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “การเดินทางของปือลางี ผ้ารุ้งหลากสีของดีชายแดนใต้” ณ บ้านสวนยุวชิต ถนนมายอ ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคผ้าปือลางี” ซึงผู้เข้ารับการอบรมได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และได้ร่วมชมผ้าโบราณที่ใช้เทคนิคปือรางีของสถาบันฯ

อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้สีธรรมชาติและการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดย สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาจัอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้สีธรรมชาติและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2564
โดยได้รับเกียรติจาก  ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์  หัวหน้าสาขาศิลปกรรมและออกแบบ / อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  และอาจารย์ณัฐชนา นวลยัง  อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี