เกี่ยวกับสถาบันฯ
ABOUT US
วิสัยทัศน์
VISION
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เป็นสถาบันชั้นนำในระดับนานาชาติด้านวัฒนธรรมภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร
CULTURE
เพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
(Our Soul is for the Benefit of
Mandkind)

ค่านิยมของสถาบัน
CORE VALUE
สร้างสรรค์ พัฒนา เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม
C : Creative I : Increasing A : Added – value
( C I A )
พันธกิจ
MISSION
1 ส่งเสริมและบูรณาการนวัตกรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาชุมชน ภาคใต้และประเทศ
2 สร้างทุนมนุษย์ที่มีทักษะในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม
โดยการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนและพันธกิจเพื่อสังคม
3 บริการวิชาการด้านวัฒนธรรมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและสากล
แผนพัฒนาสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2568)
การกำหนดแผนพัฒนา กรอบทิศทางการบริหารจัดการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนานั้น จัดทำขึ้นภายใต้บริบทของมหาวิทยาลัย (PSU Synergy : สานพลังปัญญาเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นกลไกหลักในการพัฒนาภาคใต้ ประเทศ มุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ 1 ใน 5 ของอาเซียน โดยมีการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก การประชุมทางไกลแต่ละวิทยาเขต เพื่อสอบถามข้อมูลจากรองอธิการบดีฯ ร่วมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 การประชุมบุคลากรสังกัดสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทั้งวิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ ด้วยระบบ Zoom เนื่องจากประสบปัญหาสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 โดยจัดให้มีการประชุมบุคลากรรวมทั้งหมด และแยกตามกลุ่มงาน ตลอดทั้งเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เพื่อการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ อย่างมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาสถาบันฯ รวมทั้ง การพิจารณาภาพในอดีต ความเป็นมา
ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาภายใต้บริบทของความเปลี่ยนแปลงตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง การกำหนดวิทยาเขต และการจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้เข้าใจแนวคิด/ปณิธานเบื้องต้นของการพัฒนา ซึ่งจะนำเสนอพัฒนาการและสถานภาพของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาในปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนต่อไป
1. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา : พัฒนาการจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 4 (พ.ศ.2520 – 2524) ภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ เพื่อทำหน้าที่ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย การส่งเสริม สนับสนุน การอนุรักษ์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชุมชนภาคใต้และได้เก็บรวบรวมศิลปะโบราณวัตถุ ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ.2525 2529) โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ ได้รับการบรรจุเรื่องจัดตั้งหน่วยงานภายใต้ชื่อ “สถาบันศิลปวัฒนธรรม” ทำหน้าที่ด้านการทำนุบำรุง ถ่ายทอดคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรม และเพื่อให้ภาระหน้าที่ของ “สถาบันศิลปวัฒนธรรม” ครอบคลุมภารกิจด้านวัฒนธรรมในทุกๆ ด้าน จึงเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม” แต่จากการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2538 ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันวัฒนธรรมศึกษา” เพราะศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และสื่อให้เห็นภารกิจที่ดำเนินการได้ชัดเจน
ในปี พ.ศ. 2545 คราวประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 254 (4/2545) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2545 และครั้งที่ 255 (5/2545) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 มีมติให้ประกาศจัดตั้ง “สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา” เป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทียบเท่าคณะฯ และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานนามหน่วยงาน
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้การดำเนินงานในช่วงระยะเวลาตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2559-2563 มีภารกิจสำคัญคือทำนุบำรุงและถ่ายทอดคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ภายใต้วัตถุประสงค์ คือ เป็นแหล่งศึกษา วิจัย สะสมองค์ความรู้ รวบรวมข้อมูล และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และให้บริการสารสนเทศด้านศิลปะและวัฒนธรรม แก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป รวมถึงเป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้ง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมจึงมีการดำเนินการควบคู่ทั้งด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การพัฒนา ตลอดจนการสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสสังคม และเศรษฐกิจของโลก การปรับตัวในการดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม โดยการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ ฟื้นฟูพัฒนา และต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม นำนวัตกรรมก่อให้เกิดให้รายได้เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานของการนำทุนทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะชุมชนในสามจังหวัดชายแดนใต้
โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อ คราวประชุมครั้งที่ 145 (4/2532)เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2532 เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่แลกเปลี่ยนและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมทั้งที่เป็นมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการวิชาการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม เพื่อการเพิ่มคุณค่าให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรมให้แก่ท้องถิ่น จนสามารถนำคุณค่า และกระบวนการทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่อสร้างสรรค์ การพัฒนาศักยภาพนาศักยภาพของชุมชนทั้งทางด้านภูมิรู้ และภูมิธรรมของท้องถิ่นและของประเทศอย่างยั่งยืน ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณบดีในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2553 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ได้พิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานภายในวิทยาเขตหาดใหญ่ที่ไม่ได้มีสถานภาพเทียบเท่าคณะ และได้เปลี่ยนจาก “โครงการจัดตั้ง” เป็น “ศูนย์” ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2553 เป็นต้นมา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ปรับระบบการดำเนินงานไปสู่รูปแบบการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 และตามประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง การกำหนดวิทยาเขตและการจัดตั้งส่วนงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 17 เล่ม 136 ตอนพิเศษ 304 ง ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2562 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ 3 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เป็นส่วนงานวิชาการกลางมีบทบาทในการพัฒนากำลังคน วิจัย และพันธกิจเพื่อสังคมในด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย โดยในการดำเนินงานจะเป็นการหลอมรวมหน่วยงานหลัก 2 หน่วยงาน คือ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตปัตตานี และศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
1.2 อาคารที่ทำการ
1.2.1 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตปัตตานี
อาคารหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้
สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2545 จากงบประมาณแผ่นดิน ปี2544 และ 2545 จำนวน 55,000,000 บาท แบ่งอาคารเป็น 2 อาคาร คือ อาคารหอศิลป์ภาคใต้ และอาคารหอวัฒนธรรมภาคใต้ เปิดอาคารเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 โดย ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้เกียรติเป็นประธาน
และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินเปิดการจัดแสดงนิทรรศการ หอวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
นิทรรศการภายในหอวัฒนธรรมภาคใต้
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หนึ่งในภารกิจสำคัญของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา คือ การบริการแหล่งเรียนรู้โดยได้มีการจัดตั้ง หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ขึ้น อาคารหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ แบ่งส่วนการบริหารจัดการเป็น 2 ส่วน คือ อาคารหอศิลป์ภาคใต้ จัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปกรรมร่วมสมัย อาคารหอวัฒนธรรมภาคใต้ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ก่อนกาลโบราณคดีและชาติพันธุ์
3. ประวัติศาสตร์ยุคต้น – ปาตานีดารุสลาม – รัตนโกสินทร์
4. ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
5. ภาษาและวรรณกรรม
6. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
9. วิถีชาวมุสลิม
10. หัตถศิลป์4
11. การแสดงและการละเล่นพื้นบ้าน
12. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
13. ชายแดนใต้วันนี้
อาคารพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี
อาคารพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเฉลิมพระเกียรติ (เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรค)
เมื่อปี พ.ศ.2535 ว่าที่รต.ปราโมทย์ และอาจารย์จีรพรพิชญ์ เชาวน์วาณิชย์ ได้มอบอาคารฯนี้ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผ่านนายสมยศ ฉันทวานิช และเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการย้ายอาคารบริเวณ “บ้านสวน” มาไว้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ด้วยเงินงบประมาณรายได้วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 800,000บาท โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 (ปัจจุบันอาคารเรือนอำมาตย์ฯ มีความทรุดโทรมเป็นอย่างมาก)
อาคารศูนย์หัตถศิลป์ และลานการแสดงกลางแจ้ง ม.อ.ปัตตานี
1.2.2 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่
อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
PSU Art Gallery
PSU Art Gallery สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่เผยแพร่ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ผ่านการจัดโครงการอบรมและจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมที่มีการหมุนเวียนเรื่องราวและเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการสัมผัสและซึมซับถึงคุณค่าและความงามของงานศิลปะ ส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจด้านศิลปะให้แก่ชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการขับเคลื่อนงานด้านศิลปกรรมร่วมสมัยของวงการศิลปกรรมในภาคใต้ต่อไป
พิพิธภัณฑ์ผ้าท้องถิ่นภาคใต้
การรวบรวมผ้าทอลวดลายโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งที่ได้จากการบริจาคจากเจ้าของผ้าที่มีเจตนารมณ์มอบให้มหาวิทยาลัยเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้ รวมทั้งการจัดหาผ้าทอ โดยช่างทอที่มีฝีมือการทอด้วยเทคนิคโบราณ ทอเก็บลายเพื่อเป็นการสืบทอดลวดลายโบราณไว้ไม่ให้สูญหาย ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้ที่ได้รวบรวมไว้ถือเป็นหลักฐานที่เปรียบเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่จะสะท้อนให้เห็นเรื่องราวของชนชาติ ทั้งในแง่ของวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญา ค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละยุคผ่านผืนผ้า ต่อมาในปีพ.ศ.2543 จึงเริ่มจัดตั้งห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้โดยใช้พื้นที่บริเวณชั้น 7 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นพื้นที่จัดแสดงผ้าทอพื้น และจัดเก็บผ้าทอที่มีจำนวนกว่า 2000 ผืน ต่อมาในปี พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน ได้ย้ายสถานที่ทำการไปยังอาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่















ห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์
2. สภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลง และทิศทางการพัฒนาของประเทศ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ปรับระบบการดำเนินงานไปสู่รูปแบบการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องเตรียมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีพลวัต สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทำหน้าที่ตอบสนองภารกิจคุณค่าสงขลานครินทร์ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและเพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต นอกเหนือไปจากการเสริมสร้างคุณค่าแห่งวัฒนธรรมเพื่ออนุชนรุ่นหลังและขยายผลสู่การปลูกฝังสำนึกซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่ปัญญา จิตสาธารณะ และกิจกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องตามภารกิจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แล้ว สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนายังเป็นสถาบันสำคัญในการดำเนินภารกิจด้านศิลปะและวัฒนธรรม พหุวัฒนธรรมกับการพื้นที่ และการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมมาก่อให้เกิดเศรษฐกิจ พัฒนาชุมชน สังคม