สำหรับบุคลากร     สำหรับนักศึกษา        
Skip to content

วิชามหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญา (วิทยาเขตหาดใหญ่)

MIRACLE OF WISDOM ( HATYAI CAMPUS)

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

Section 1: General Information

1 . รหัสและชื่อรายวิชา
    (Course code and title )

125-102 มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญา MIRACLE OF WISDOM

2. จำนวนหน่วยกิต
    ( Number of credits )

2(2-0-4)

3 . หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
    (Program and course categories )

หลายหลักสูตร พ.ศ.2561 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในกลุ่มวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4 . อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
     ( Course coordinator(s) and lecturer(s) )

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อาจารย์ผู้สอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด
อ.อัญชลี ทองคง
อ.กำพล เลื่อนเกื้อ

5 . ชั้นปีที่เรียน/ภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอน
     ( Semester/Year of study )

ภาคการศึกษาที่ 2/2563 รหัส 2563 2562 และ 2561

6. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน
     (Co-requisites)

ไม่มี NONE

7 . สถานที่เรียน
     ( Location )

อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม 
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
วิทยาเขตหาดใหญ่

8 . วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
     ( Last updated of the course details )

วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2563

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

Section 1: General Information

1. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา

  1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวน และเรียนรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ สามารถคัดสรร วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การบูรณาการในการดำเนินชีวิต
  3. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนัก และภาคภูมิใจในวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาและนักศึกษาสามารถคิด วิเคราะห์และบูรณาการความรู้จากกระบวน  การจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

Section 3: Description and Implementation

1. คำอธิบายรายวิชา

การเรียนรู้ และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การบูรณาการให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

Learning and appreciating of the culture and local wisdom; integration with social change.

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา ( Number of hours per semester )

บรรยาย ปฏิบัติการ ศึกษาด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติภาคสนาม/ ฝึกงาน สอนเสริม

30 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

0

60 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

ชั่วโมง/ภาคการศึกษา

0

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

2 ชั่วโมง/สัปดาห์

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

Section 4: Learning Outcomes Development

ผลการเรียนรู้ (CLO) แต่ละด้านที่มุ่งหวังจะพัฒนานักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา วิธีการสอน วิธีการประเมินผล
1.1 มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต สามารถแยกแยะสิ่งถูก สิ่งผิดได้ มีความรับ ผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

1.2 ตระหนักและเห็นคุณค่าความเป็นไทยและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติสู่การบูรณาการในการดำเนินชีวิต

1.3 มีจิตสาธารณะที่ถูกต้องดีงามและถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

1.1 เน้นการเข้าชั้นเรียนสด/บางเวลาใช้ออนไลน์ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ การแยกแยะสิ่งถูก สิ่งผิดและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และการแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

1.2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ลงสัมผัสสถานการณ์จริง เช่น ลงศึกษาภูมิปัญญาอาหารที่ตลาด และเพิ่มเติมยกกรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง จากสื่อต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบแยกแยะความต่าง

1.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาปฏิบัติจริงจากภาคสนาม แนะจริยธรรมสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล มอบหมายงานกลุ่มให้จัดทำโครงงานศึกษาภูมิปัญญาในชุมชน และนำเสนอผลการศึกษา

1.4 มอบหมายงานกลุ่มและหรืองานราย บุคคล ตัวอย่าง ให้คิดทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสังคม

1.5 มอบหมายงานกลุ่มหรืองานราย บุคคลให้ศึกษาบุคคลตัวอย่างหรือปราชญ์ท้องถิ่นที่เป็นคนดี มีความเสียสละมีจิตสาธารณะต่อสังคม

1.6 เข้าร่วมกิจกรรมในวันถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง (ร่วมและจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดบริเวณในมหาวิทยาลัย ชุมชน โรงเรียน วัด และมัสยิด)

1.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนสด/ออนไลน์บางช่วง การเข้าร่วมกิจกรรม ความซื่อสัตย์และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา

1.2 ประเมินจากใบงานและสังเกตพฤติกรรมเข้าร่วมกิจกรรม

1.3 ประเมินจากแบบบันทึกการลงพื้นที่จริยธรรมในการเก็บข้อมูลประเมินจากรายงาน การนำเสนอโครงงานศึกษาภูมิปัญญาในชุมชน

1.4 ประเมินจากการมอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่มที่มีการค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการอ้างอิงที่มาของข้อมูลอย่างครบถ้วน และถูกต้อง

1.5 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

1.6 สังเกตจากพฤติกรรมการเรียนพฤติกรรมและอารมณ์ความรู้สึกสุขใจขณะมีส่วนร่วมในกิจกรรม

1.7 ประเมินจากข้อสอบ

1.8 ประเมินจากสะท้อนกลับของผู้เรียน  

2. ความรู้ และทักษะทางปัญญา

ความรู้และทักษะทางปัญญาที่ต้องการพัฒนา วิธีการสอน วิธีการประเมินผล

2.1 ทบทวนและเรียนรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.2 สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.3 สามารถคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันสถานการณ์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

2.1 มีการทบทวนและให้เรียนรู้คุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.2 จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านทฤษฎี และหลักการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิต ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

2.3 จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิด ที่เน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ คิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันสถานการณ์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ประเมินจากสิ่งต่อไปนี้
2.1 จากการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม

2.2 จากใบงาน

2.3 จากการทำงานกลุ่มและงานเดียว

2.4 การนำเสนอผลงาน

2.5 แบบทดสอบ

3. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา วิธีการสอน วิธีการประเมินผล
3.1 มีความสามารถในการปรับตัว รับฟัง ยอมรับความคิดเห็น ทำงานกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม

3.2 รู้จักตนเอง รู้จักหน้าที่ตนเอง ภาคภูมิใจในตนเองและในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง

3.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานและบุคคลทั่วไป สามารถทำงานกับทีมได้ ใส่ใจรับรู้ความรู้สึกของผู้ร่วมงาน

3.4 มีความคิดริเริ่ม มีส่วนร่วมในการวางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

3.5 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะพลเมืองของสังคมไทยและสังคมโลก
3.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ สมาชิกกลุ่ม ฝึกความรับผิดชอบและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และ/หรือนำเสนอหน้าชั้นเรียน เช่น ให้ทำโครงงาน นำเสนอโดยการจัดบอร์ดนิทรรศการการโต้วาที เป็นกลุ่มให้นักศึกษาฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

3.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้รู้จักตนเอง ภาคภูมิใจในหน้าที่ของตนเอง และในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง

3.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงจากภาคสนาม ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเรียนรู้จากชุมชน (CBL) มอบหมายงานกลุ่มให้จัดทำโครงงานศึกษา    ภูมิปัญญาในชุมชน และนำเสนอผลการศึกษา

3.4 จัดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมฝึกแก้ไขปัญหา เช่น ใช้การสอนแบบ PBL

3.5 มอบหมายงานรายบุคคล ติดตามสื่อข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากแหล่งเรียนรู้ประเภทต่างๆ

3.1 สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก ความรับผิดชอบ และการแสดงออกของนักศึกษาขณะทำกิจกรรมกลุ่ม3.2 ประเมินความสม่ำเสมอของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

3.3 ให้ทำแบบสำรวจพฤติกรรมและความรู้สึกของตนเอง

3.4 ประเมินงานกลุ่ม การทำงานเป็นทีม การนำเสนอผลการศึกษาภาคสนาม และวัดความสามารถความรับผิดชอบในการสืบค้น องค์ความรู้ด้วยตนเอง การใช้ทักษะความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

3.5 จัดโอกาสให้เพื่อนร่วมชั้นประเมินการทำงานกลุ่ม

3.6 ประเมิน/สังเกตจากการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น คิดอย่างมีเหตุผล วางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหา

3.7 ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

3.8 ประเมินจากข้อสอบ

3.9 ประเมินจากการสะท้อน กลับ

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

Section 5: Teaching and Evaluation Plan

1. แผนการสอน Teaching Plan

สัปดาห์ที่ หัวข้อ/รายละเอียด จำนวนชั่วโมง กิจกรรม การเรียนการสอน/สื่อที่ใช้ ผู้สอน
บรรยาย/กิจกรรม
1-2 – แนะนำรายวิชา กระบวนการเรียนการสอน การประเมินผล และแหล่งการเรียนรู้นอกชั้นเรียน
– ทบทวน เรียนรู้ความหมาย ขอบข่ายของภูมิปัญญา
– ความสำคัญ และคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
– ภาพรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและจำแนกแยกแยะภมิปัญญาแต่ละด้าน
4 Discussion, audiovisual, interactive-lecture, Online feedback  Zoom MST
สื่อและอุปกรณ์การเรียน
– PowerPoint,YouTube
– Infographics,
– เอกสาร, บทความวิจัย
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์
คณาจารย์
3-4 – มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญาด้าน การเกษตรกรรม การจัดการทรัพยากร และการประกอบอาชีพ
-คุณค่าของภูมิปัญญาด้านการเกษตรกรรม การจัดการทรัพยากรและการประกอบอาชีพ
-การบูรณาการและการปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
4 Interactive-lecture, demonstration, Online feedback  Zoom MST
สื่อและอุปกรณ์การเรียน
– PowerPoint,YouTube
– เอกสาร
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านครูภูมิปัญญาและผ่านเครือข่ายออนไลน์
คณาจารย์
5-6 – มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญาด้านอาหารการกินและการแพทย์แผนไทย
-องค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารในชีวิตประจำวัน อาหารในพิธีกรรม
– การแพทย์แผนไทย พืชสมุนไพร
– เอกลักษณ์และคุณค่าของภูมิปัญญาด้านอาหารการกินและการแพทย์แผนโบราณ
-การบูรณาการและการปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
4 Interactive-lecture, inquiry, Online feedback  Zoom MST
สื่อและอุปกรณ์การเรียน -PowerPoint,YouTube
– เอกสาร Infographics,
– ครูภูมิปัญญาอาหาร
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์
คณาจารย์
7 – มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญาด้านประดิษฐกรรมและศิลปกรรม
– ความรู้พื้นฐาน จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านประดิษฐกรรมและศิลปกรรม
– ลักษณะของภูมิปัญญาด้านประดิษฐกรรมและศิลปกรรม
-การบูรณาการและการประยุกต์ในการดำเนินชีวิต
2 Interactive-lecture, demonstration, practice doing, feedback  Zoom
สื่อและอุปกรณ์การเรียน

– PowerPoint,YouTube
– เอกสาร -อุปกรณ์ด้านหัตถกรรม
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์
คณาจารย์
8                                                         สอบกลางภาค
9-10
– มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญานันทนาการ ดนตรี ศิลปการแสดงพื้นบ้าน
– ลักษณะของดนตรีและศิลปการแสดงพื้นบ้านภาคใต้
– ความเชื่อและรูปแบบการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง
– พลวัตการเปลี่ยนแปลงและสูญหาย
-การบูรณาการและการปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
4 Interactive-lecture, demonstration, practice doing, feedback Zoom
สื่อและอุปกรณ์การเรียน
– PowerPoint,YouTube
-เอกสาร
-อุปกรณ์การละเล่นพื้นบ้าน
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์
คณาจารย์
11 – มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญาด้าน    ความเชื่อ ศาสนาประเพณี คุณธรรม และจริยธรรม
-ศาสนาที่สำคัญในสังคมพหุวัฒนธรรม
-ประเพณี ความเชื่อในสังคมพหุวัฒนธรรม
2 Interactive-lecture, case m.,role play,feedback
สื่อและอุปกรณ์การเรียน
– PowerPoint,YouTube
คณาจารย์
– คุณธรรมและจริยธรรมที่ปรากฏในสังคมพหุวัฒนธรรม
– การบูรณาการและการปรับในการดำเนินชีวิตในสังคม
-เอกสาร
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์
12-13 -ดำเนินการโครงงาน
-ลงพื้นที่ภาคสนาม
4 PBL, field trip, reflection คณาจารย์
14-15 -ทบทวนและสรุปเนื้อหา
-นำเสนอโครงงานและนิทรรศการเกี่ยวกับ มหัศจรรย์แห่งภูมิปัญญา แต่ละภูมิปัญญา
4 -ชุดสไลด์เนื้อหา การสรุปเนื้อหาด้วย mind mapping อภิปรายร่วม การสะท้อนกลับ
-นักศึกษานำเสนอผลงานและนิทรรศการ วิทยากรบรรยายโดยครูภูมิปัญญา อภิปราย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็น
คณาจารย์
16-17                                      สอบปลายภาค

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมิน สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมิน
1.1


1.2






1.3


3.1

3.2

3.4

3.5
– ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสด บางช่วงใช้ออนไลน์ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ในการส่งงาน

– ประเมินจากการมอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่มที่มีการค้นหาข้อมูล เก็บข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ภาคสนาม จากเอกสารสื่อต่างๆ โดยจะต้องมีการอ้างอิงที่มาของข้อมูลอย่างครบถ้วน มีความซื่อสัตย์ และมีจริยธรรมประเมินจากการเขียนรายงาน นำเสนอผลงาน จากใบงาน คลิปออนไลน์การสอบ

– ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม การส่งงาน ความซื่อสัตย์ในการเขียนรายงาน

– ประเมินจากการทำงานกลุ่มและผลงานของกลุ่ม

– ประเมินแบบสำรวจตนเอง

– ประเมินจากการทำงานกลุ่ม ตรวจผลงานกลุ่ม

-ประเมินผลจากงานกลุ่ม การทดสอบย่อย และการสอบไล่
ตลอดภาคการศึกษา


3,6,8,12,14,17






ตลอดภาคการศึกษา


6,8,12,13,17

5,11

4,7

ตลอดภาคการศึกษา
10%


40%






10%


10%

5%

5%

20%

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

Section 6: Teaching Materials

1. ตำราและเอกสารหลัก Required textbooks and materials

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.  (2542).  วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.  (2542).  วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์  และภูมิปัญญา จังหวัดยะลา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.  (2542).  วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์  เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดนราธิวาส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จุรีรัตน์ บัวแก้วและสมบูรณ์ ธนะสุข. (2537). หัตถกรรมพื้นบ้าน : ศึกษาเฉพาะกรณีผลิตภัณฑ์กระจูด. งานวิจัย ได้รับเงินสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2546). การศึกษาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านชุมชนประมงแหลมนก. รายงานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากทุนวิจัยด้านวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ประสิทธิ์ รัตนมณีและชนิศร์ ชูเลื่อน. (2551). ประเพณีลาซัง แต่งงานโต๊ะชุมพุก ตำบลควน อำเภอ   ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี.  รายงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 

ประสิทธิ์ รัตนมณี และชยพล พุฒยอด. (2552) พิธีกรรมการละเล่นลิมนตร์ คณะนายนิพล พุฒยอด รายงานวิจัยทุนสนับสนุนจากสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี 

ประสิทธิ์ รัตนมณี และนราวดี โลหะจินดา. (2550). โนราโรงครูคณะเฉลิมประพา ในจังหวัดปัตตานี.    รายงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี   

สุธี เทพสุริวงค์และเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2547). การรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี. รายงานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากทุนวิจัยด้านวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เสน่ห์  จามริก (2542)   ภูมิปัญญาไทยบูรณาการ. กรุงเทพฯ.: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อคิน  รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์       อมรินทร์.

ข้อมูลแนะนำ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง (Electronic Media or Websites) บทเรียนทางไกล แหล่งกิจกรรมข้อมูลที่นักศึกสามารถเข้าศึกษาได้ตามความสนใจ ได้แก่

  1. พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี
  2. พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรค
  3. หอวัฒนธรรมภาคใต้
  4. หอศิลป์ภาคใต้
  5. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
  6. ทัศนศึกษา
  7. ลงภาคสนามชุมชน การเก็บข้อมูล
  8. กรมพัฒนาชุมชน พัฒนากรจังหวัด / อำเภอ / หมู่บ้าน
  9. ปราชญ์ท้องถิ่น
  10. ฐานข้อมูลงานวิจัยด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (TDC, Scopus, ISI,TCI ฯลฯ)

 

 

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

Section 7: Course Evaluation and Improvement

  1. 1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

          – แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

          – การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและนักศึกษา

– ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิด

 วิเคราะห์ก่อนและหลักการเรียนรายวิชานี้

          – การสะท้อนกลับของผู้เรียน

  1. 2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

– อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง

– การสังเกตการสอนของผู้สอน

– ผลการสอบ/ผลการเรียนรู้

– การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้

  1. 3. การปรับปรุงการสอน

-ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา ผลการประเมินการสอน ปัญหา อุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลใน  การปรับปรุงการสอน

-การปรับปรุงรายละเอียดรายวิชา

-การประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

-การบูรณาการศาสตร์ต่างๆ และประยุกต์ใช้ในการสอน

  1. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

– ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบและหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

  1. 5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

– นำผลการประเมินโดยนักศึกษาจากข้อ 1 และการประเมินการสอนจากข้อ 2 มาประมวลเพื่อปรับปรุงรายวิชา การจัดการเรียนการสอน

– สัมมนาอาจารย์ผู้สอน/จัดประชุม

– เพื่อทบทวนและปรับปรุงรายวิชา

– ปรับปรุงประมวลรายวิชาทุกปี

– ตามข้อมูลจากการประเมิน