สำหรับบุคลากร     สำหรับนักศึกษา        
Skip to content

วิชาความงามของนาฏศิลป์ไทย

AESTHETICS OF THAI DANCE

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

Section 1: General Information

1 . รหัสและชื่อรายวิชา
    (Course code and title )

061-001   ความงามของนาฏศิลป์ไทย
AESTHETICS OF THAI DANCE

2. จำนวนหน่วยกิต
    ( Number of credits )

1((1)-0-2)

3 . หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
    (Program and course categories )

หลายหลักสูตร พ.ศ.2561

4 . อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
     ( Course coordinator(s) and lecturer(s) )

1 พรปวีณ์ พุ่มเกิด PORNPAWEE PUMKERD
2 สดุดี กุลสิรวิชย์ SADUDEE KUNSIRAWIT

5 . ชั้นปีที่เรียน/ภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอน
     ( Semester/Year of study )

ทุกชั้นปี  ภาคการศึกษาที่ 2  ปีการศึกษาที่ 2563

6. รายวิชาที่เกี่ยวข้อง
     ( Course Prerequisite Subject )

ไม่มี NONE

7 . สถานที่เรียน
     ( Location )

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   วิทยาเขตหาดใหญ่
(Prince of Songkla University Hat Yai Campus)

8 . วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
     ( Last updated of the course details )

14 ธันวาคม 2563
14 December 2020

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายของรายวิชา

Section 1: General Information

จุดมุ่งหมายของรายวิชา ( Purposes of the course )

ความงามของนาฏศิลป์ไทย  เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นอย่างมีแบบแผนและมีความประณีตงดงามจากภูมิปัญญาไทย  เป็นการบูรณาการความงามหลากหลายด้านมาประกอบกันจากวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งความงดงามจากท่ารำนาฏศิลป์ไทย จากนาฏศิลป์ไทยโขน  จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นเมือง  จากความไพเราะของดนตรีไทย รวมทั้งการขับร้อง ฉาก  แสง  สี  เสียง ล้วนเป็นแหล่งรวมของความงามที่ทำให้เกิดสุนทรียภาพทั้งในผู้แสดงและผู้ชม  การได้เรียนรู้ความงามของนาฏศิลป์ไทย จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและซาบซึ้งในความงาม เกิดเจตคติที่ดีต่อศิลปวัฒนธรรมของไทย  มีภูมิคุ้มกันในการเลือกรับศิลปวัฒนธรรมของต่างชาติโดยไม่ลืมความเป็นไทย  และได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาตนเป็นบัณฑิตตามคุณลักษณะที่มหาวิทยาลัยคาดหวัง

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

Section 3: Description and Implementation

1. คำอธิบายรายวิชา ( Course Description )

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์โขน ดนตรีไทยและการแสดงศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ รวมทั้งการแต่งกายเพลงและท่ารำ

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา ( Number of hours per semester )

บรรยาย Lecture
(ชั่วโมง/ภาคการศึกษา hours/semester)
ปฏิบัติการ Practice
(ชั่วโมง/ภาคการศึกษา hours/semester)
ศึกษาด้วยตนเอง Self-study
(ชั่วโมง/ภาคการศึกษา hours/semester)
สอนเสริม Extra Class
(ชั่วโมง/ภาคการศึกษา hours/semester)

15

0

30

0

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ( Number of hours per week for academic guidance to individual students )

1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบในคาบแรกของการเรียน

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

Section 4: Learning Outcomes Development

ผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวังจะพัฒนานักศึกษา ( Expected learning outcomes )

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม Moral and Ethics

คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา Morals and Ethics that need to be developed วิธีการสอน Teaching Methods วิธีการประเมินผล Evaluation
รายการ List
1.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีกิริยามารยาท มีความเคารพครูอาจารย์
1.2 ตระหนักในคุณค่า มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมได้
รายการ List
1.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
1.2 อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอน
1.3 มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม
รายการList
1.1 แบบบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน
1.2 การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรม

2. ด้านความรู้ Knowledge

ความรู้ที่ต้องได้รับ Knowledge that needs to be obtained วิธีการสอน Teaching Methods วิธีการประเมินผล Evaluation
รายการ List
2.1 อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยได้
2.2 สามารถแต่งกายตามแบบนาฏศิลป์ไทยตามที่กำหนดได้
2.3 สามารถปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์ไทยตามที่กำหนดได้
2.4 สามารถบอกรูปแบบศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบต่างๆได้
รายการ List
2.1 บรรยาย
2.2 จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกปฏิบัติทั้งแบบรำเดี่ยว รำคู่และรำเป็นกลุ่มได้
2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการปฏิบัติงานจริง
รายการ List
2.1 การนำเสนอผลงาน
2.2 ทดสอบปฏิบัติจริง
2.3 ประเมินจากงานที่ได้มอบหมาย
2.4 ใบงาน

3. ด้านทักษะทางปัญญา Intellectual skills

ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา Intellectual skills that need to be developed วิธีการสอน Teaching Methods วิธีการประเมินผล Evaluation
รายการ List
3.1 มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์ท่ารำด้วยตนเอง
3.2 มีทักษะในการปฏิบัติตามต้นแบบได้ถูกต้อง
รายการ List
3.1 มอบหมายงานให้คิดสร้างสรรค์การแสดงโดยจัดเป็นกลุ่มและสร้างผลงานร่วมกัน –
3.2 ผู้สอนเป็นต้นแบบให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตาม
รายการ List
3.1 ใบงาน
3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม
3.3 ประเมินจากคุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ Interpersonal skills and responsibilities

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา Interpersonal skills and responsibilities that need to be developed วิธีการสอน Teaching Methods วิธีการประเมินผล Evaluation
รายการ List
4.1 แสดงถึงทักษะการทำงานเป็นทีมและสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน
4.2 มีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่ตนเองสนใจ
รายการ List
4.1 มอบหมายงานทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่มในการเรียนรู้งานศิลปวัฒนธรรมในงานต่างๆ เช่น งานลานร่มบ่มศิลป์ โครงการไหว้ครูดนตรีไทย/นาฏศิลป์ และงานนิทรรศการศิลปกรรม เป็นต้น
4.2 การบันทึกกิจกรรมที่ได้ทำงานร่วมกัน
รายการ List
4.1 ใบงาน
4.2 การแสดงผลงานที่ได้คิดร่วมกัน –

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

Section 5: Teaching and Evaluation Plan

1. แผนการสอน Teaching Plan

สัปดาห์ที่ Week หัวข้อ/รายละเอียด Items/content จำนวนชั่วโมงบรรยาย Number of lecture hours จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ Number of lab hours จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง Number of self hours ชั่วโมงสอนนี้เป็นการสอนแบบเชิงรุก Active Learning กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้ Teaching & Learning activities/teaching materials ผู้สอน Lecturer ผู้สอนเพิ่มเติม Additional Lecturer
01 1.ความเข้าใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ 2.ขอบเขตและเป้าหมายรายวิชา 2.1 ขอบเขตเนื้อหาและกิจกรรมของรายวิชา 2.2เกณฑ์การวัดและประเมินผล 2.3แนวปฏิบัติการเรียนรู้และเอกสารประกอบ 1 0 2 ใช่ 1.แจ้งวัตถุประสงค์ของรายวิชา แนวทางการเรียนการสอน แนะนำผู้สอนและการลงชื่อเข้าชั้นเรียน 2.ผู้สอน  ผู้เรียนร่วมกันกำหนดข้อตกลงและกติกาในชั้นเรียน 3.แจ้งเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4.ให้ผู้เรียนตอบคำถามตามความเข้าใจของตนเองก่อนการเรียนรู้ 5.ชี้แจงเนื้อหาการสอนในสัปดาห์ถัดไป
พรปวีณ์  พุ่มเกิด
สดุดี  กุลสิรวิชย์
02  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย – ความหมายและประโยชน์ของนาฏศิลป์ไทย – ความงามของนาฏศิลป์ไทย – องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย 1 0 2 ใช่  บรรยาย
สดุดี  กุลสิรวิชย์
03  การแต่งกายตามแบบนาฏศิลป์ไทย – การแต่งกายประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดต่างๆ 1 0 2 ใช่  บรรยาย/ชม power point ภาพการแต่งกายในรูปแบบต่างๆ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
04  การแต่งกายตามแบบนาฏศิลป์ไทย(ต่อ) -ฝึกปฏิบัติการแต่งกายเบื้องต้นตามแบบนาฏศิลป์ไทย  ได้แก่ การนุ่งโจงกระเบน  การนุ่งจีบหน้านาง  การห่มสไบ 1 0 2 ใช่  1.ฝึกการแต่งกายในรูปแบบต่างๆโดยให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วทำตามผู้สอน  เช่น การนุ่งโจงกระเบน  การนุ่งจีบหน้านาง  การห่มสไบ 2.ทดสอบปฏิบัติย่อยในเรื่องการแต่งกาย
สดุดี  กุลสิรวิชย์
05  เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย -รูปแบบเพลง  ฝึกฟังจังหวะเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย 1 0 2 ใช่  บรรยาย/ฟังเพลงประกอบการแสดง
สดุดี  กุลสิรวิชย์
06  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรุปแบบต่างๆ – ระบำ รำ  ฟ้อน  ละคร 1 0 2 ใช่  บรรยาย
สดุดี  กุลสิรวิชย์
07  การแสดงนาฏศิลป์ไทย  เกี่ยวกับการแสดงพื้นเมือง – การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค 1 0 2 ใช่  1.บรรยาย 2.ชม power point การแสดงนาฏศิลป์สี่ภาค
สดุดี  กุลสิรวิชย์
08  ท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทย – การเตรียมความพร้อมของร่างกายตามหลักนาฏศิลป์ไทย – ฝึกปฏิบัติท่ารำเบื้องต้น 1 0 2 ใช่  1.บรรยาย/ฝึกปฏิบัติท่านาฏยศัพท์เบื้องต้นของนาฏศิลป์ไทย 2. ปฏิบัติท่ารำ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
09  สัปดาห์สอบกลางภาค 0 0 0 ไม่ใช่
สดุดี  กุลสิรวิชย์
10  ท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทย -ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ใช่  1.บรรยาย 2.ฝึกปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
11  ท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ไทย(ต่อ) -ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ใช่ 1.บรรยาย 2.ปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
12  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบเป็นคู่ – ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ใช่  1.บรรยาย 2.ปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
13  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบคู่(ต่อ) -ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ใช่  1.บรรยาย 2. ปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
14  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบกลุ่ม -ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ใช่ 1.บรรยาย 2. ปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
15  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบกลุ่ม(ต่อ) – ฝึกปฏิบัติท่ารำ  1 เพลง 1 0 2 ใช่ 1.บรรยาย 2. ปฏิบัติ
สดุดี  กุลสิรวิชย์
16  การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบกลุ่ม(ต่อ) – ฝึกปฏิบัติท่ารำ 1 เพลง 1 0 2 ไม่ใช่  นำเสนอผลงานกลุ่ม
สดุดี  กุลสิรวิชย์
17  สอบปลายภาค 0 0 0 ไม่ใช่
สดุดี  กุลสิรวิชย์

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้ (สอดคล้องกับ Curriculum Mapping ของ มคอ.2) Evaluation Plan (in accordance with TQF 2 Curriculum Mapping)

ผลการเรียนรู้
Learning outcomes

วิธีการประเมิน
Evaluation Methods

สัปดาห์ที่ประเมิน
Week

สัดส่วนของการประเมิน
Percentage of Evaluation

1.1, 1.2, 1.3

– ตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน

– พฤติกรรมในชั้นเรียน

– แบบประเมินจากใบงานการเรียนรู้นอกชั้นเรียนโดยตนเอง/เพื่อน/อาจารย์ประจำกลุ่มในส่วนรับผิดชอบ

ทุกสัปดาห์

5

2.1, 2.2, 2.3

 – แบบทดสอบ

–  ประเมินจากการปฏิบัติท่ารำ

4,9

35

3.1, 3.2

– ทดสอบโดยการปฏิบัติท่ารำทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม

13-16

30

4.1, 4.2

 – ใบงานการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

-แบบประเมินให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นโดยทีมผู้สอนได้จัดทำขึ้น

16

30

 

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

Section 6: Teaching Materials

1. ตำราและเอกสารหลัก Required textbooks and materials

เรณู    โกศินานนท์.(2543)นาฏศิลป์ไทย.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

จินตนา  สายทองคำ.(2558) นาฎยศิลป์ไทย รำ ระบำ ละคร โขน. กรุงเทพฯ: เจปริ้น 94 ท่าพระจันทร์

สมหญิง  สุมา.(2526) ประวัติ บทร้อง และเพลงประกอบชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยใน เอกสารประกอบการศึกษาวิชานาฏศิลป 461 ของวิทยาลัยครูสงขลา

สุมิตร  เทพวงษ์.(2548) นาฏศิลป์ไทย: นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา-อุดมศึกษา.กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์

2. Other materials

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

Section 7: Course Evaluation and Improvement

1.การประเมินการดำเนินการของรายวิชา
Evaluation on course effectiveness

1.1 ประเมินรายวิชา Course evaluation

ให้นักศึกษาประเมิน/แสดงความคิดเห็นผ่านการประเมินรายวิชา

1.2 ประเมินอาจารย์ผู้สอน Teacher evaluation

-อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเอง

-ผลการสอบ

1.3 การทวนสอบรายวิชา Review of students’ academic performance

-มีการทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยใช้แบบประเมิน

  1. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงรายวิชา
    Assessment result to improve the course

-นำผลการประเมินโดยนักศึกษาจาก ข้อ 1 และการประเมินการสอน ข้อ 2 มาประมวลเพื่อปรับปรุงรายวิชาและการจัดการเรียนการสอน

หมวดอื่นๆ

Section Other

  1. การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยหรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
    Teaching and learning development through learning management from research and knowledge management process

ไม่มี

  1. การบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรืองานบริการวิชาการแก่สังคมกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน
    Integrating research process or innovation or academic services to thatching and learning process

ไม่มี