ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมกิจกรรมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568

วันที่ 10 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมกิจกรรมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมสานสัมพันธ์ให้กับบุคลากรสายอำนวยการระหว่างหน่วยงานสนับสนุนภารกิจกลางของมหาวิทยาลัย ณ บริเวณลานประดู่ (ลานด้านขวาพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อโครงการปรับปรุงครุภัณฑ์ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และระบบดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อโครงการปรับปรุงครุภัณฑ์ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และระบบดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อโครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศประจำห้องภูมิญญศิลป์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาซื้อโครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศประจำห้องภูมิญญศิลป์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding)

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนตลาดนัดวัฒนธรรม ‘กือดาบูดายอ’ ด้วยนวัตกรรมการสื่อสารและออกแบบ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากจากทุนวัฒนธรรมปัตตานี”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนตลาดนัดวัฒนธรรม กือดาบูดายอด้วยนวัตกรรมการสื่อสารและออกแบบ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากจากทุนวัฒนธรรมปัตตานี” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ 2568 

.

โดยมี

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข                 ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการ

ผู้ร่วมวิจัย:

ผศ.ศิริชัย พุ่มมาก                หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

ดร.ปิติ  มณีเนตร               หน่วยงาน: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.จิรัชยา  เจียวก๊ก       หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์         หน่วยงาน :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผศ. ดร. ศมลพรรณ ธนะสุข  หน่วยงาน :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร

นางสาวนราวดี  โลหะจินดา หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิ

นายประสิทธิ์ รัตนมณี           หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

นางสาวจิดาพร  แสงนิล        หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

.

#บพท #วัฒนธรรม #กือดาบูดายอ #PGIC #PSU #PSUpattani  #ทุนวิจัย #Congratulations #ขอแสดงความยินดี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒ เมษายน ๒๕๖๘
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ อาคารศรีเกียรติพัฒน์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย

 “วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน”

        วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ

        คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ “มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา”

        คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา

โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 28 คน ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ

การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่าน มาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 – 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2535 เป็นต้นมา คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดงานใหม่โดยให้มีทิศทางในการจัดงานแน่นอน คือการกำหนดหัวเรื่องของการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทย ปีพุทธศักราช 2536 เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย

        การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม

——————————-

อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.

ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี

 

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจากโครงการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมทางทะเลในเอเชีย (MAHS) มหาวิทยาลัยเกียวโต

28 มีนาคม 2568

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจากโครงการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมทางทะเลในเอเชีย (MAHS) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล ฟีเนอร์ จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้มี ดร.อภิรดา โกมุท จากศูนย์ประสานงานประจำประเทศไทย และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะ ที่เดินทางมาเก็บข้อมูลและสำรวจแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินเรือและชุมชนชายฝั่ง

.

โครงการ MAHS มีเป้าหมายในการบันทึกข้อมูลเชิงดิจิทัลของแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางทะเล โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบเปิด (open access) สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโตและมหาวิทยาลัยออซฟอร์ด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาค

.

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้เข้าชมโบราณวัตถุที่จัดแสดงในหอวัฒนธรรมภาคใต้ รวมถึงเหรียญโบราณและเครื่องถ้วย ณ พิพิธภัณฑ์พระเทพญานโมลี เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมในภูมิภาค

.

การต้อนรับครั้งนี้เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิจัยและบุคลากรของสถาบันฯ เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัยและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางทะเลในระดับนานาชาติต่อไป

สถาบันฯ ต้อนรับศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร เข้าพบปะและแสดงความขอบคุณแก่คณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานี

26 มีนาคม 2568

ดร.ปิติ มณีเนตร รองผู้อำนวยการสถาบันฯ รับมอบของขวัญแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ จากศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดยนางสาววิภาวรรณ วาทีกานท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร ในการเดินทางเข้าพบปะและแสดงความขอบคุณแก่คณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานี ที่ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ มาโดยตลอด

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยนางสาวสิริมา ยืนยง และนายกำพล เลื่อนเกื้อ บุคลากรสถาบันฯ นำนักศึกษาร่วมแสดงในงานเลี้ยงรับรองโครงการสัมมนาวิชาการเครือข่ายรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และเครือข่ายการวางแผนอุดมศึกษา ประจำปี 2568

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยนางสาวสิริมา ยืนยง และนายกำพล  เลื่อนเกื้อ บุคลากรสถาบันฯ นำนักศึกษาร่วมแสดงในงานเลี้ยงรับรองโครงการสัมมนาวิชาการเครือข่ายรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และเครือข่ายการวางแผนอุดมศึกษา ประจำปี 2568 ภายใต้หัวข้อ “การวางแผนอุดมศึกษาสู่อนาคตแห่งการพัฒนาองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลโดยใช้เครื่องมือบริหารจัดการสมัยใหม่” ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา

การแสดงชุด ระบำสี่ภาค

     เป็นผลงานการสร้างสรรค์ที่รวบรวมเอาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยของแต่ละภูมิภาคมาผสมผสานกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงท่วงท่าลีลาท่ารำ ตลอดจนสำเนียงดนตรี การแต่งกาย และอาชีพที่แตกต่างกันออกไป สะท้อนถึงความงดงาม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย ถึงแม้จะอยู่คนละภาคกัน อาจต่างซึ่งสำเนียงภาษา ขนบธรรมเนียม ศาสนา และวัฒนธรรม

การแสดงชุด รำโนราผสมท่า

     โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานานและนิยมอย่างแพร่หลายใน พื้นที่ภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีแบบแผนการร่ายรำ การขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ มี ดนตรีเป็นลูกคู่เล่นรับส่งตลอดการแสดง ผู้รำโนราสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัด หลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวทำด้วยโลหะ การแสดงบางส่วน เล่นเป็นเรื่อง และบางส่วนแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม ผู้คนรู้จักโนราในฐานะที่ เป็นมหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา เป็นนาฏยลักษณ์ของคนใต้ซึ่ง ปัจจุบัน โนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของทางภาคใต้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติแม้ปัจจุบัน โนรา จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามยุคสมัย แต่ยังคงความงดงาม และการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ขอบคุณภาพจาก เพจ Prince of Songkla University

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เชิญชวนร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568

✨สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เชิญชวนร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568 ✨💦

.

📅 ในวันที่ 9 เมษายน 2568 📍 ณ บริเวณลานพระพุทธษิณสมานฉันท์ พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

.

👉กิจกรรมภายในงาน :

🌸พิธีสงฆ์

🌸สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์จำลอง

🌸รดน้ำขอพรผู้อาวุโส

🌸การแสดงมโนราห์

🌸กิจกรรมสาธิตเหยียบเส้นขนมจีนแบบโบราณ

🌸การแสดงรำวง “ผู้สูงวัยใจเบิกบาน” ร่วม เยาวชน คณะมโนราห์ สถาบันฯ ม.อ.ปัตตานี

🌸กิจกรรมข้าวหม้อแกงหม้อ

.

เชิญชวนใส่เสื้อฮาวาย / ลายดอก 🌸🌸🌸

.

และร่วมรณรงค์ เพื่อลดขยะภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการนำภาชนะและแก้วน้ำส่วนตัวมาร่วมกิจกรรม ♻️

.

ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ไทย สืบสานวัฒนธรรมอันงดงามของชาวไทยไปด้วยกัน!!

_

#Songkran #CulturePSU  #สงกรานต์

.

ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่

Website : https://culture.psu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/

Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu

Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu