ประกาศสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบข้อเขียนเพื่อเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา เลขที่ 0726

📣 ประกาศสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบข้อเขียนเพื่อเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา เลขที่ 0726
.
✅สอบข้อเขียนในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องนาฏศิลป์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
✅ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ทางเว็บไซต์ https://resume.psu.ac.th
✅ รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบข้อเขียน ดาวน์โหลด
.
☎️สอบถามเพิ่มเติม >> สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร. 074-289680 ในวันและเวลาทำการ

นายจตุรงณ์ หลวงพนัง ครูโขนสงขลานครินทร์ ประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา นำนักนักศึกษาและบุคลากรร่วมแสดงโขนในงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสวันกองทัพไทย ประจำปี 2568

เมื่อวันที่ 22-24 มกราคม 2568 นายจตุรงณ์ หลวงพนัง ครูโขนสงขลานครินทร์ ประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นำนักศึกษาและบุคลากรร่วมแสดงโขนในงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสวันกองทัพไทย ประจำปี 2568 โดยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

วันศุกร์: วันหยุดของมุสลิมชายแดนใต้ ความสำคัญและการเปลี่ยนแปลง

ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของวิถีชีวิต สังคม ความเป็นอยู่ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะวิถีชาวมุสลิม ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากที่สุดในพื้นที่ วัฒนธรรมได้หล่อหลอมผสมผสานศาสนาเข้ากับวิถีชีวิต หนึ่งในวิถีชีวิตที่กลายเป็นวัฒนธรรมเด่นชัดของชาวมุสลิมสามจังหวัดคือ การมีวันศุกร์เป็นวันหยุด

 

วันศุกร์ หรือ “วันญุมอัต” (Jumu’ah) ในภาษาอาหรับและมลายู วันศุกร์ไม่ใช่เพียงวันธรรมดาในชีวิตของมุสลิม แต่ยังถือเป็น “วันอีดเล็ก” ในทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวมุสลิมได้รวมตัวกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางศาสนาและสังคม  เป็นวันสำคัญของมุสลิมและถือเป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในสัปดาห์ เนื่องจากตามหลักศาสนาอิสลามการละหมาดญุมอัตเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญ ผู้ชายมุสลิมต้องทำการละหมาดวันศุกร์ร่วมกันที่มัสยิดในช่วงเที่ยงวัน  และยังเป็นวันที่เหมาะสมสำหรับการทำความดีและชุมชนยังจัดกิจกรรมพิเศษในวันศุกร์ เช่น การบริจาค การอ่านอัลกุรอ่าน การพบปะญาติพี่น้อง และการจัดเลี้ยงต่างๆ ซึ่งตามบทบัญญัติของศาสนา วันศุกร์เป็นวันที่ผู้ที่กระทำความดีจะได้รับผลบุญทวีคูณ ทำให้มุสลิมให้ความสำคัญกับวันนี้อย่างมาก

ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิตและก่อเกิดวัฒนธรรมร่วมกัน จึงทำให้วันหยุดประจำสัปดาห์ของคนในพื้นที่กลายเป็นวันศุกร์ สถานประกอบการ ห้างร้าน และสถานที่เดินการก่อสร้าง มีผู้ประกอบการเป็นชาวมุสลิม หรือผู้ประกอบการต่างศาสนิกที่เข้าใจวิถีวัฒนธรรม กิจการหลายแห่งกำหนดให้ลูกจ้างหยุดงานในวันศุกร์ เพื่อให้พนักงานสามารถประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างเต็มที่ หากสังเกตช่วงเช้าวันศุกร์ จะพบว่าการสัญจรบนท้องถนนโล่งเป็นพิเศษ เพราะผู้คนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาดซุบฮีตอนเช้า การเยี่ยมกุโบร์ การพบปะผู้คนตามร้านน้ำชา หรือการดูแล ไร่ นา สวนในช่วงเช้าก่อนถึงเวลาละหมาดวันศุกร์

อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ธุรกิจบางประเภทในพื้นที่จำเป็นต้องเปิดทำการในวันศุกร์ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ร้านค้าหรือกิจการของมุสลิมเองจากเดิมที่เคยปิดทุกวันศุกร์ อาจจำเป็นต้องเปิดบริการ การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เจ้าของกิจการและพนักงานต้องปรับตัวร่วมกัน เช่น การเพิ่มเวลาพักกลางวันสำหรับการละหมาดแล้วชดเชยเวลางานในช่วงเย็นแทน หรือเลื่อนเวลาเปิดร้านเป็นช่วงบ่ายแทน ในทางกลับกัน กิจกรรมหรือบริการที่ไม่สามารถหยุดทำการได้ เช่น โรงพยาบาล หรือบริการขนส่งสาธารณะ อาจจัดเวลาการทำงานแบบยืดหยุ่น เช่น การเพิ่มเวลาพักกลางวันให้พนักงานมุสลิม หรือการปรับตารางเวรให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงาน แนวทางเหล่านี้ช่วยรักษาสมดุลระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจและการทำงานโดยไม่กระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย

วิถีวัฒนธรรมการหยุดงานในวันศุกร์เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีศาสนาเป็นแกนกลางที่เชื่อมโยงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อ แม้ว่ากระแสโลกและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเข้ามามีอิทธิพล วิถีชีวิตนี้ยังคงปรับตัวอย่างเคารพในความหลากหลายของความเชื่อและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ รวมถึงบริบทของสังคมโลกในปัจจุบัน

____________________________________________________________________________

เรียบเรียงบทความโดย นายซันนูซี การีจิ นักวิชาการศึกษา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

 

ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก นายรีดูวัน ยีเฮ็ง ศูนย์สื่อสารองค์กรและกิจการนานาชาติ

ขอเชิญชวนเยาวชนหัวใจศิลป์ร่วมแสดงผลงานสร้างสรรค์ใน โครงการประกวดวาดภาพศิลปะเด็กและเยาวชน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ประจำปี 2568 ภายใต้หัวข้อ “โลกอนาคต กับวัฒนธรรมที่ยั่งยืน”

🎨✨ ขอเชิญชวนเด็กๆ และเยาวชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ร่วมประกวดวาดภาพศิลปะ ✨🎨

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญชวนเยาวชนหัวใจศิลป์ร่วมแสดงผลงานสร้างสรรค์ใน โครงการประกวดวาดภาพศิลปะเด็กและเยาวชน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ประจำปี 2568 ภายใต้หัวข้อ โลกอนาคต กับวัฒนธรรมที่ยั่งยืน”

🌏 มาร่วมสะท้อนภาพอนาคตที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงสืบสานคุณค่าของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีดั้งเดิม พร้อมนำพาโลกสู่ความยั่งยืนในมิติใหม่แห่งความงดงาม

🖌 ประเภทการประกวด

🔹 ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3)

🔹 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6)

.

📜 รางวัลรวมมูลค่ากว่า 22,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมทุกคน

.

📅 กำหนดการสำคัญ

🔸 ปิดรับผลงาน: 31 พฤษภาคม 2568

🔸 ตัดสิน: 20 มิถุนายน 2568

🔸 ประกาศผล: 25 มิถุนายน 2568

🔸 พิธีมอบรางวัล: 2 กรกฎาคม 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

.

🖼 เงื่อนไขการส่งผลงาน:

ขนาด A3 แนวตั้งหรือแนวนอน

สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคศิลปกรรม 2 มิติ ไม่จำกัดประเภทสี

ผลงานต้องเป็นต้นฉบับและไม่เคยประกวดมาก่อน

#ดาวน์โหลดใบสมัคร #อ่านรายละเอียดหลักเกณฑ์และกติกา การประกวดวาดภาพเพิ่มเติม:

👉👉https://link.psu.th/5uvagG

📍 ส่งผลงานได้ที่:

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000

วงเล็บมุมซอง (ประกวดวาดภาพศิลปะเด็กและเยาวชน 5 จังหวัดชายแดนใต้)

.

📞 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่: โทร. 0-7333-1250 (ในวันและเวลาราชการ)

เปิดโอกาสให้เยาวชนแสดงพลังศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน! 🌟

#ประกวดวาดภาพ #ศิลปะเด็กเยาวชน #โลกอนาคตกับวัฒนธรรมที่ยั่งยืน #pgvics #psu #PSUpattani

.

ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่

Facebook: ศิลปะเด็กและเยาวชน 5 จังหวัดชายแดนใต้

Website : https://culture.psu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/

Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu     

Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu

ขออภัยในความไม่สะดวก แจ้งปรับปรุงอาคารหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ และขอความร่วมมือระมัดระวังการสัญจรบริเวณโดยรอบ

ด้วยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (ปัตตานี) มีงานปรับปรุงฝ้าเพดานและห้องน้ำอาคารหอศิลปวัฒนธรมภาคใต้ ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2568 โดยเฉพาะบริเวณหอศิลป์ภาคใต้ ซึ่งอยู่ติดถนน เพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจร ป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุจากวัสดุร่วงหล่นจากที่สูง จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือให้ระมัดระวังการขับขี่เส้นทางบริเวณโดยรอบของอาคารสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

ขออภัยในความไม่สะดวก ณ โอกาสนี้ด้วย

.*****

งานอาคารและสถานที่

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (ปัตตานี)

โทร.073 331 250, เบอร์ภายใน 1483

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ได้จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ณ บริเวณเรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  

ภายในงานมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน เช่น การวาดรูประบายสีวัฒนธรรมภาคใต้ กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล และซุ้มอาหารหลากหลาย 

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อปลูกฝังความรักในวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง โดยมีการมอบของขวัญและรางวัลต่าง ๆ เพื่อสร้างความสุขและความทรงจำดี ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งเด็ก ๆ และผู้ปกครอง 

สถาบันฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนของขวัญและรางวัลสำหรับงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่าง ๆ หรือผู้มีจิตศรัทธา ที่ช่วยสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับเด็ก ๆ อย่างอบอุ่นและประทับใจ   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาจาก Politeknik Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah ประเทศมาเลเซีย

19 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาจาก Politeknik Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah ประเทศมาเลเซีย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นใต้ และ PSU Art Gallery ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
——————————–
– พิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นใต้
– PSU Art Gallery
นาฏศิลป์, โขน, โนรา, ดนตรีไทย
– การร้อยพวงกุญแจลูกปัดโนรา
– การทำผ้าเช็ดหน้ามัดย้อม
– หัตถกรรมและภูมิปัญญาอื่น ๆ
#การเรียนรู้อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทย
– ขนมโค และ น้ำสมุนไพร
– บัวลอย และ น้ำสมุนไพร
– อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยอื่น ๆ
สอบถามเพิ่มเติม : สำนักงานบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร. 074-289680-2 (คุณศจีพรรณ)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการและนักวิจัย นักวิชาการสถาบันฯ ร่วมลงพื้นที่ภาคสนาม พบผู้ประกอบการกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเส้นใย ตำบลพะวง และกลุ่มวิสาหกิจการทำเชือกกาบกล้วย และกลุ่มมัดย้อมบ้านปริก by ยังเพ

เมื่อวันที่ 8-9  มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการและนักวิจัย นักวิชาการสถาบันฯ ร่วมลงพื้นที่ภาคสนาม พบผู้ประกอบการกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเส้นใย ตำบลพะวง และกลุ่มวิสาหกิจการทำเชือกกาบกล้วย ตำบลคูเต่า อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และกลุ่มมัดย้อมบ้านปริก by ยังเพ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สาธิตการย้อมสีธรรมชาติ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและยกระดับ OTOP ด้วย วทน. ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จังหวัดสงขลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำด้านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับคณะทำงานด้านวิชาการผู้แทนบริษัทสแปน คอนซัลแตนท์

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำด้านข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับคณะทำงานด้านวิชาการผู้เทนบริษัทสแปน คอนซัลแตนท์ ในการจัดทำโครงการจ้างออกแบบนิทรรศการ หอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ทั้งนี้ ได้มอบหมายนายญาณพัฒน์ สูตรประจัน นักวิชาการสถาบันฯร่วมลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อการสนับสนุนข้อมูลในการจัดทำนิทรรศการ หอเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา และบุคลากรสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติของกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเส้นใย ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 7  มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา และบุคลากรสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บรวบรวมผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติของกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรมเส้นใย ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีนายกชพร ปัถย์ปัญจพล ประธานกลุ่ม ให้ข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกลุ่มหัตถกรรมเชือกกล้วยบ้านดอน หมู่ที่ ๘ ชุมชนบ้านดอน ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนางประไพ จินดาวงศ์ และสมาชิกกลุ่มให้การต้อนรับ ซึ่งประโยชน์จากการลงพื้นที่ภาคสนามครั้งนี้จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่อไป