ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการร่วมเป็นเกียรติพิธี “วางศิลาฤกษ์วิหารสมเด็จ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (สมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการและหัวหน้าโครงการวิจัยฯ พร้อมด้วยนักวิจัยในโครงการ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี “วางศิลาฤกษ์วิหารสมเด็จ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (สมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) ณ วัดต้นเลียบ หมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ พื้นที่วัดต้นเลียบ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่หนึ่งในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยการบูรณาการความรู้มรดกวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ และการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การทำผ้าพระบฏสิริมงคลและพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดคาบสมุทรสทิงพระ ในโครงการวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนเส้นทางสายไหมทางทะเล #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช.
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
มาแกปูโละ : กินเหนียวงานแต่งชายแดนใต้
.jpg)
ฉันเดินเข้าไปบริเวณงานแต่งงานของน้องสาวที่รู้จักกันในหมู่บ้านเป็นเวลาเกือบเที่ยงวัน ชาวมุสลิมที่ชายแดนใต้ส่วนใหญ่หากไม่ติดภารกิจใดเมื่อได้รับการเชิญไปร่วมงานเลี้ยงงานแต่งงานมักจะนิยมไปในช่วงเวลาใกล้เที่ยง หากบางคนมีภารกิจก็จะเปลี่ยนเป็นเวลาเย็นหรือค่ำหลังเลิกงาน การไปร่วมงานเลี้ยงการแต่งงานที่นี่เรียกว่า “มาแกปูโละ” หรือสั้น ๆ ก็คือกินเหนียวนั่นเอง
.jpg)
.jpg)
ฉันได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามแบมังหรืออุสมาน โดซอมิ ปราชญ์ชาวบ้านชาวยะลาที่มีความรู้และทำงานคร่ำหวอดในแวดวงงานด้านประเพณีวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับเรื่องนี้ แบมังได้เล่าว่า “เมื่อก่อนชาวบ้านแถบนี้เวลามีงานแต่งมักจะมีการเลี้ยงข้าวเหนียวซึ่งถือว่าเป็นอาหารหลักในยุคนั้นพร้อมกับข้าวเจ้าด้วย ข้าวเหนียวนั้นใช้ทานกับแกงต่าง ๆ เช่น แกงมัสมั่นเนื้อ แกงมัสมั่นแพะ บ้างก็ทานกับแกงกุ้ง ปลาแห้ง หรือสมันกุ้งก็มี” จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่มาของคำว่า “มาแกปูโละ” ซึ่งเป็นภาษามลายูถิ่น โดยหากแยกเป็น 2 คำ คำว่า มาแก หมายถึง กิน ปูโละ หมายถึง ข้าวเหนียว นั่นเอง
.jpg)
ในงานแต่งงานของมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้แห่งนี้มีรูปแบบ วิถีทางความเชื่อและประเพณีบางอย่างที่ทั้งแตกต่างและคล้ายคลึงกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย ฉันขอกล่าวถึงรูปแบบและเรื่องราวบางส่วนที่แตกต่างและเป็นอัตลักษณ์ของผู้คนที่ชายแดนใต้แห่งนี้ เช่น สัญลักษณ์การแขวนธงผ้า*กาอินลือปัส (*ผ้าที่ใช้สำหรับคลุมศรีษะหรือไหล่ของผู้หญิงในพื้นที่ชายแดนใต้ สมัยก่อนอาจใช้คลุมไหล่ ผู้ชายบางคนอาจใช้ในการโพกหัวเป็นทรงกลม ๆ หรือใช้พันเอวคล้ายการใช้งานผ้าขาวม้าของไทย) ที่แขวนเป็นสัญลักษณ์ว่าที่นี่มีงานแต่งงานหรือเป็นผ้าที่ใช้บอกเส้นทางไปยังบ้านที่จัดงานแต่งงานก็ได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่งานเลี้ยงงานแต่งงานมักจัดภายหลังการแต่งงานตามหลักการศาสนาหรือเรียกสั้น ๆ ว่า “นิกะห์” ซึ่งอาจจัดก่อนวันงานเลี้ยง 1 วันหรือในช่วงเช้าก่อนเริ่มจัดงานเลี้ยงในวันเดียวกัน ก่อนจะเริ่มงานเลี้ยงหรือระหว่างการจัดงานเลี้ยงจะมีขบวนแห่ขันหมาก (บุหงาซีเระหรือพานบายศรี) จากฝ่ายเจ้าบ่าวซึ่งอาจมีรูปแบบลักษณะตั้งแต่ 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความสะดวกของฝ่ายที่จัดขบวนแห่ฯ ปัจจุบันจะมีสิ่งของประกอบการแห่ขันหมากอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่น ผ้าถุง ผ้าละหมาด ขนมหวาน ผลไม้ เบเกอรี่ ฯลฯ
.jpg)
นอกจากนี้ข้าวเหนียวหรือปูโละจัดได้ว่าสิ่งสำคัญในงานเลี้ยงงานแต่งงานของมุสลิมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปูโละหรือข้าวเหนียวถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในเชิงพิธีการในงานแต่งงาน โดยเฉพาะการกิน “ปูโละเซอมางัตหรือข้าวเหนียวขวัญ” ของคู่บ่าวสาว โดยในช่วงของงานแต่งคู่บ่าวสาวจะผลัดกันหยิบข้าวเหนียวคนละ 3 คำ (หรือ 3 ครั้ง) ซึ่งข้าวเหนียวจะมี 3 สี ได้แก่ สีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของศาสนา สีเหลือง แทนความหมายของกษัตริย์ และสีแดงแทนความหมายของชาติ โดยในสมัยก่อน การหยิบปูโละเซอมางัตนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมและมีการตีความเสี่ยงทายความหมายการมีชีวิตคู่ภายหลังแต่งงานของคู่บ่าวสาวของชาวมลายูจากสีข้าวเหนียวที่ได้มีการเลือก แต่ในปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวแทบจะไม่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่แห่งนี้อีกแล้ว
.jpg)
ปัจจุบันงานมาแกปูโละของชาวมุสลิมหลายอย่างได้มีการปรับเปลี่ยนเชิงรูปแบบทางประเพณีพิธีการ ทั้งนี้เพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพทางสังคมเศรษฐกิจค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบในเชิงขั้นตอนหลักการทางศาสนาอิสลามนั้นยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คู่บ่าวสาวยุคใหม่อาจมีทั้งการเน้นรูปแบบการจัดงานเลี้ยงแต่งงานที่หรูหรา บางคู่อาจเน้นแนวเรียบง่าย แล้วแต่ความต้องการและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้จัด เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมช่วยเหลือในวันจัดงานหรือเตรียมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในอดีตส่วนใหญ่จะมีญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านในชุมชนมาช่วยเหลือในวันงาน แต่ปัจจุบันอาจมีการจ้างชาวบ้านหรือแม่ครัวจากภายนอกชุมชนมาช่วยทำอาหารในงานเลี้ยง มีการจ้างเยาวชนมาช่วยในการเสริฟอาหาร หรือแม้กระทั่งมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ในการจัดเลี้ยงจากเดิมจัดงานที่บ้านคู่บ่าวสาว ซึ่งปัจจุบันอาจปรับเปลี่ยนเป็นจัดในร้านอาหารหรือโรงแรมแทน
.jpg)
สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการจัดงานแต่งงานของชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ร่วมส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนของผู้คนตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลและอนุญาตให้ถ่ายภาพประกอบ
นายสมาน โดซอมิ
นางสาวอัสมะ สุหลง
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทั้ง 2 วิทยาเขต ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมทบศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ม.อ.ปัตตานี
.jpg)
.jpg)
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทั้ง 2 วิทยาเขต นำโดย ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรร่วมส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม ขนม และสิ่งของจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสมทบศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ม.อ.ปัตตานี
นอกจากนี้ ทีมงานยังได้ร่วมลงมือแพ็คของและปรุงอาหารร่วมกับโรงครัวกองพัฒนานักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี เพื่อสนับสนุนการแจกจ่ายอาหารและสิ่งของจำเป็นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
สถาบันฯ ขอส่งกำลังใจให้พี่น้องในพื้นที่ผ่านพ้นสถานการณ์นี้โดยเร็ว และขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมกับเครือข่ายจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรครูด้านศิลปะในพื้นที่ภาคใต้ ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาร่วมกับเครือข่าย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรครูด้านศิลปะในพื้นที่ภาคใต้ ประจำปี 2567 โดยความร่วมมือกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการสนับสนุนและเสริมสร้างทักษะด้านศิลปะ ตามนโยบาย “1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์” ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
ในโอกาสนี้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาได้จัด Workshop ฐานที่ 7: Local Paper Cut – ตอก ตัด ฉลุลาย สร้างสรรค์ โดยมีนายไวโรจน์ วานิ จากกลุ่มว่าวเบอร์อามัส เมืองสาย เป็นวิทยากร พร้อมด้วยเครือข่ายงานหัตถกรรมของสถาบันฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการทำว่าวเบอร์อามัส ว่าวพื้นถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านโครงสร้างที่สวยงามและลวดลายเฉพาะตัว ว่าวเบอร์อามัสเป็นมรดกภูมิปัญญาที่ได้รับการส่งต่อมานานนับร้อยปี
โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านศิลปะให้กับบุคลากรครูในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะเชิงสร้างสรรค์ในระดับชุมชนและสังคม
นอกจากนี้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนายังได้อนุเคราะห์สถานที่สำหรับจัด Workshop ฐานอื่นๆ เช่น
ฐานที่ 1: สีสันแห่งวัฒนธรรม ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกปฏิบัติเทคนิคสีน้ำ, สีชอล์ก, สีอะคริลิก และการวาดภาพด้วยวัสดุผสม
ฐานที่ 3: Eco Print ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์งานจากวัสดุธรรมชาติ
กิจกรรมครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะศิลปะอย่างยั่งยืนในภูมิภาค
บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ เรื่อง “การฟื้นฟูและถ่ายทอดความรู้การปลูกครามและทดลอง ก่อหม้อคราม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม จังหวัดปัตตานี”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญชวนอ่าน #บทความวิจัย ในรอบปี 2566-2567 ที่ได้รับการตีพิมพ์
เรื่อง “การฟื้นฟูและถ่ายทอดความรู้การปลูกครามและทดลอง ก่อหม้อคราม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม จังหวัดปัตตานี”
.
ตีพิมพ์ในวารสารวารสารปาริชาต สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (2024): เมษายน – มิถุนายน
ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลวารสาร TCI กลุ่ม 1
.
อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/266686?fbclid=IwY2xjawHF2m5leHRuA2FlbQIxMAABHa542E9CwPqQTcdejLIky-tDFmhZViMDLUKKK12o0os5n37qCWSBsKONag_aem_KLwhl3RJ5ZoV7UTroPQ22A
.
ผู้เขียน:
– นางสาวนราวดี โลหะจินดา นักวิชาการอุดมศึกษาชำนานการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
.
Keyword: คราม, ก่อหม้อคราม, ผ้าย้อมสีครามธรรมชาติ, Indigofera, Making indigo paste pot, Natural indigo dyed fabric
.
ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่
Website : https://culture.psu.ac.th/
Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu
Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/
Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu
Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu
บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ เรื่อง “ความเชื่อและพิธีกรรมตามบทบาทของผู้นำทางจิตวิญญาณใน ร่างทรงเทพเจ้าจีนที่มีต่อศาลเจ้าเมืองตรัง”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญชวนอ่าน #บทความวิจัย ในรอบปี 2566-2567 ที่ได้รับการตีพิมพ์
เรื่อง “ความเชื่อและพิธีกรรมตามบทบาทของผู้นำทางจิตวิญญาณในร่างทรงเทพเจ้าจีนที่มีต่อศาลเจ้าเมืองตรัง”
.
ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติสามัญวัดสระเรียง ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 (2023): ธันวาคม 2566
ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลวารสาร TCI กลุ่ม 1
.
อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/270229?fbclid=IwY2xjawHF2K1leHRuA2FlbQIxMAABHft0cst0xChboC62q0SWfM2m2l2ipR4GuvMgvl48h2ddCquj0EQ8fHvzQA_aem_TXg9OZmpNS6feOxMjxgOhw
.
ผู้เขียน:
– นางอ้อมใจ วงษ์มณฑา นักวิชาการอุดมศึกษาชำนาญการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
– ผศ.ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง สาขาวิชาศิลปะการคิดเพื่อการพัฒนามนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.
.
Keyword: ความเชื่อ พิธีกรรม บทบาท ร่างทรงเทพเจ้าจีน ผู้นำทางจิตวิญญาณ,
Belief Rituals Roles Chinese Deity Embodiment Spiritual Leader
.
ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่
Website : https://culture.psu.ac.th/
Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu
Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/
Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu
Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu