ประกาศสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัย งบประมาณเงินรายได้ ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา
ประกาศสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา โดยได้ดำเนินการสอบเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 นั้น ปรากฏว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย งบประมาณเงินรายได้
ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา ดังนี้

สถาบันฯ ร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.-มช. “ ๓ พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ ๘
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗
ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ บุคลากรสถาบันฯ ร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.-มช. “ ๓ พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ ๘ ระหว่างวันที่ ๑๘ –19 ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรม Royal Phuket City Hotel อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดในครั้งนี้ ทั้งนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่ม ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม: Soft Power Creative Economy และออกบูทผ้าลีมาบติก by CIA อีกด้วย
.
#มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #มหาวิทยาลัยขอนแก่น #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #3พลังเพื่อแผ่นดิน #KKU #CMU #PSU #PSUConnext
.jpg)
13 ตุลาคม 2567 “วันนวมินทรมหาราช”

13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” เป็นปีที่ 7 ของวันสวรรคตรัชกาลที่ 9 หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตามที่รัฐบาลได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ซึ่งแปลว่า วันที่ระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 หน่วยราชการในพระองค์ได้จัดเผยแพร่พระราชประวัติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระปรมาภิไธย พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ เนื่องในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา
เสด็จขึ้นครอง สิริราชสมบัติต่อจาก สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 ทรงดำรงสิริราชสมบัติ 70 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 สิริพระชนมายุ 88 พรรษา 10 เดือน 8 วัน
พ.ศ.2492 ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระธิดาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ.2493 แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์”
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จผ่านพิภพในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร
รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
ในโอกาสนี้ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองแก่ปวงชนชาวไทยว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ต่อมา พ.ศ.2499 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประชาชนชาวไทยใต้ร่มพระบารมีต่างมีความผาสุกร่มเย็น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อก่อเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศเวลาในการเสด็จพระราชดำเนินไป ยังท้องถิ่นทุรกันดารในภูมิภาคต่างๆ เพื่อช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
พระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์
พระราชกรณียกิจ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่อง “น้ำ” ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ การจัดการน้ำใต้ดิน การแก้ไขปัญหาอุทกภัย ซึ่งถือเป็นยุคทองของระบบการชลประทานไทย ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสียทั่วประเทศ ตัวอย่างโครงการพระราชดำริที่สำคัญ คือ โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และฝนไม่ตกในพื้นที่เกษตรที่ต้องการ นอกจากนี้ โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและเป็นที่พักน้ำก่อนจะระบายสู่ทะเล เป็นต้น
พระราชกรณียกิจ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการแก้ปัญหาดิน ทั้งดินปนทราย ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และการพังทลายของดิน เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้ดีขึ้น ในปี พ.ศ.2547 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้มีมติเสนอให้วันที่ 5 ธันวาคม (วันพระบรมราชสมภพ) เป็นวันดินโลก เพื่อยกย่องการทรงงานเรื่องดิน สำหรับโครงการที่สำคัญ คือ โครงการแกล้งดิน ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส เป็นตัวอย่างของการประสบความสำเร็จในการแก้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่พรุ ทำให้สามารถปลูกข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ได้
พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ทรงพระราชดำริว่า ป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชาติ การทรงงานในเรื่องป่าไม้จึงผสานเป็นแนวทางเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรน้ำและดิน พ.ศ.2504 ไทยเข้าสู่ยุคสมัยของการพัฒนา พื้นที่ป่าไม้แปรสภาพเป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม จัดสรรเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย บางพื้นที่ถูกใช้เป็นแหล่งปลูกพืชเสพติด ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดจำนวนลง จึงทรงพิจารณาศึกษาหาแนวทางช่วยเหลือ อาทิ “โครงการหลวง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และพระราชทานคำแนะนำให้ชาวไทยภูเขาเปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นมาปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาว เช่น ถั่วแดงหลวง มะเขือเทศ แอปเปิล สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 สาลี่ พลับ ลูกท้อ ชา และกาแฟอาราบิก้า เป็นต้น รวมทั้งพระราชทานพันธุ์สัตว์ เช่น ปลาและหมู สร้างสถานีวิจัยเกษตร และศูนย์พัฒนาพืช
พระราชกรณียกิจ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ช่วง พ.ศ.2496 การแพทย์และการสาธารณสุขของไทยยังไม่เจริญนัก เกิดโรคระบาด ได้แก่ โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคโปลิโอ และโรคเท้าช้าง ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทุนการศึกษาแก่แพทย์ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงสร้างตึกโรงพยาบาล พัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ
ด้วยพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้โรคระบาดที่เกิดในประเทศไทยในอดีตสงบลง และทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในภูมิภาคนี้
พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียน สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้นและ ทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และในพระบรมราชูปถัมภ์ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ตั้งแต่ระดับประถม ถึงระดับปริญญาเอก ทุนพระราชทานเหล่านี้มาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการสร้างอนาคตของชาติ
พระราชกรณียกิจ ด้านศาสนา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพุทธมามกะที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.2499 และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประจำฤดูโดยสม่ำเสมอ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้าง พระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
หล่อพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหาร ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายมีความเสี่ยงสูง
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านอื่น ๆ อาทิ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา, พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคม, พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย, พระราชกรณียกิจด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
สำหรับปีนี้ กิจกรรมในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม
หน่วยงานราชการและภาคประชาชน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้
สำนักพระราชวัง เปิดให้วางพวงมาลา และถวายราชสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สนามม้านางเลิ้ง เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะวางพวงมาลา ลงทะเบียน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ อำนวยความสะดวกสถานที่ตั้งพวงมาลา
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายเป็นพระราชกุศล เวลา 16.30 น. ณ หอประชุมพุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม รวมถึงวัดทุกวัดในราชอาณาจักร และวัดไทยในต่างประเทศ จัดพิธีสวดพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ในวันเดียวกัน
ที่มา : https://royaloffice.th/
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ เพื่อเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย งบประมาณเงินรายได้ ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา (งานประชาสัมพันธ์)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567

งานมุทิตาจิตแด่ คุณอัญชลี ทองคง บุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
.jpg)
.jpg)
.jpg)
โขนสงขลานครินทร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ในเรื่องรามเกียรติ ชุด อุบายราพณ์รอนราม ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ม.อ. ตรัง
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
ผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ เข้าร่วมงานสืบสานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2567
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2567
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)