ปริศนาธรรมจากประเพณีทำศพ

การอาบน้ำศพ ทางพราหมณ์นิยมกันว่าเพื่อล้างบาปให้แก่ผู้ตาย ทางศาสนาอิสลามนิยมกันว่า
การอาบน้ำทาแป้งให้แก่ศพผู้ตายอย่างหมดจดแล้ว เมื่อผู้ตายไปเกิดชาติใดรูปร่างจะได้สะสวยหมดจดงดงาม ทางศาสนาพุทธจะอาบน้ำแล้วลงขมิ้นชันสดตำขัดสีและฟอกด้วยส้มมะกรูดมะนาว อาบน้ำหอมทากระแจะและเครื่องปรุงอื่น ๆ ตามที่ควรจะหาได้

          การแต่งตัวศพ แต่งตัวให้ไปเกิด การนุ่งผ้าให้แก่ศพ ซึ่งมีการนุ่งข้างหลังแล้วนุ่งข้างหน้านี้ เพื่อให้พิจารณาให้แจ้งว่าสัตว์ที่เกิดมาย่อมเกิดด้วยทิฐิ และตายด้วยทิฐิ มีอวิชชาปิดหลังปิดหน้า มีตัณหาเกี่ยวประสานกันดังเรียวไม้ไผ่

 เงินใส่ปาก เพื่อให้เป็นทางพิจารณาว่า คนเกิดมาแล้วย่อมลุ่มหลงอยู่ด้วยทรัพย์สมบัติเที่ยวทะเยอทะยานขวนขวายหาด้วยทางสุจริตแล้วไม่พอแก่ความต้องการ ยังพยายามแสวงหาในทางทุจริตอีก เมื่อได้มาแล้วอดออมถนอมไว้ไม่ใช้จ่ายในทางที่ควร ทรัพย์เช่นนี้เรียกว่าเป็นทรัพย์ภายนอก เมื่อตายไปแล้วแม้แต่เขาเอาใส่ปากให้ก็นำเอาไปไม่ได้ ย่อมเป็นเหยื่อของผู้อื่นทั้งสิ้น อีกทางหนึ่งกล่าวกันว่า ใส่ไว้เพื่อให้เป็นค่าจ้างแก่สัปเหร่อที่จะนำไปเผา

ขี้ผึ้งปิดหน้าศพ เพื่อป้องกันความอุจาด เพราะบางศพลืมตาค้างปิดไม่ลงบ้าง บางศพอ้าปากบ้าง

กรวยดอกไม้ธูปเทียน ให้ถือไปเพื่อจะได้ไหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

การมัดศพ ให้ศพถือกรวยดอกไม้ธูปเทียนแล้วใช้ด้ายดิบเส้นขนาดนิ้วก้อยทำเป็นบ่วงสวมคอเป็นบ่วงแรก บ่วงที่ 2 รัดรวบหัวแม่มือและข้อมือทั้ง 2 ข้างให้ติดกัน บ่วงที่ 3 รัดรวบหัวแม่เท้าและข้อเท้าทั้ง 2 ข้างให้ติดกันเรียกกันว่าตราสังกรือดอยใน การทำบ่วงสวมคอ ผูกมือและเท้าเป็น 3 บ่วงด้วยกันนั้น มีความหมายผูกเป็นโคลง 4 สุภาพ ดังนี้

                   มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว                 พันคอ

ทรัพย์ผูกบาทาคลอ                           หน่วงไว้

ภรรยาเยี่ยงบ่วงหนอ                          รึงรัด มือนา

สามบ่วงใครพ้นได้                             จึ่งพ้นสงสาร.

การเผาศพ : มีดที่ตัดเชือกหรือด้ายที่ผูกศพ ได้แก่ ดวงปัญญา ด้ายนั้นได้แก่ โลโภ โทโส โมโห อันว่า โลโภ โทโส โมโห นั้น ต้องตัดด้วยดวงปัญญา จึงจะขาดได้ ที่ว่าเอากิ่งไม้วางเหนือศพนั้นเพื่อจะไม่ให้ผ้าที่บังสุกุลเปื้อนศพที่มีน้ำเหลือง การที่นิมนต์พระมาชักมหาบังสุกุลนั้น ก็เพื่อให้ท่านมาปลงกรรมฐานและรับผ้านั้นเป็นไทยทาน จัดเป็นการกุศลส่วนหนึ่ง

การคว่ำหน้าศพลง เมื่อเวลาศพถูกไฟจะได้ไม่งอตัวเข้ามาได้ ถ้าเผาในท่านอนหงายศพนั้นมักงอเท้าสูงเชิงขึ้นได้

การเวียนเชิงตะกอนสามรอบ หมายความว่า เมื่อแรกเกิดมานั้นเป็นเด็ก แล้วถึงคราวเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แปรผันไปอีกจนถึงความชรานี้ชื่อว่า อนิจจัง การที่แปรปรวนไปนั้นมีความเจ็บไข้ได้ทุกข์ทนยากชื่อว่า
ทุกขัง ในที่สุด ถึงความสลายไปคือแตกทำลายตายจากภพนี้ จะเอาอะไรไปเป็นสาระหาได้ไม่ ชื่อว่า อนัตตา การเวียนสามรอบนั้น คือ หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การนำสตางค์ทิ้งลงในเชิงตะกอน แปลว่าเป็นการซื้อที่ให้ผีผู้ตายอยู่ มีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าภาพ
งานศพไม่ได้ซื้อที่ให้ผีอยู่ในเวลาเผา เมื่อเผาแล้วผีไม่มีที่อยู่ ก็เที่ยวรบกวนหลอกหลอนต่าง ๆ ภายหลังเจ้าภาพได้ซื้อที่ให้ผีแล้ว จึงไม่เที่ยวหลอกหลอนต่อไปอีก

          การที่เอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ เป็นปัญหาธรรมว่าสิ่งสะอาดล้างสิ่งสกปรก คือ กุศลธรรม ย่อมล้างซึ่งอกุศลธรรม

          การห้ามไม่ให้ต่อไฟกัน เพราะไฟนั้นเป็นของร้อน ถ้าต่อกันก็ติดเนือง ๆ สืบกันไปเหมือนคนผูกเวร
เวรย่อมไม่สิ้นสุดลงได้ การที่ท่านไม่ให้ต่อก็คือชี้ทางแห่งการระงับเวร การเอาผ้าโยนข้ามไฟ 3 ครั้ง คือแสดงถึงการข้ามของร้อน มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นมูล ต้องข้ามด้วยธรรม อันเป็นอันเป็นไปในทางบริสุทธิ์ คือ
พระอธิยมรรค อริยผล และพระนิพพาน

 

          การชักไฟสามดุ้น คือแสดงว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของร้อน เปรียบเหมือนไฟสามดุ้นนั้น เมื่อ
ตัดราคะ โทสะ โมหะ เสียได้แล้ว ก็จะต้องได้รับความสุขคือ ปราศจากเครื่องร้อนทั้งปวง และเมื่อมาถึงบ้านให้ล้างหน้าและอาบน้ำนั้น เป็นการรักษาอนามัยอย่างดี ถ้ายกขึ้นสู่ปัญหาธรรมก็คือ ให้ล้างความชั่วด้วยความดีนั่นเอง.

___________________________________

เรียบเรียงโดย อ้อมใจ วงษ์มณฑา นักวิชาการอุดมศึกษาชำนาญการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีลอยกระทง ประจำปี ๒๕๖๗ “สีสันแห่งสายน้ำ”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีลอยกระทง ประจำปี ๒๕๖๗ “สีสันแห่งสายน้ำ”

.

🗓วันที่ ๑๔๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เริ่มเวลา ๑๖.๐๐๒๒.๐๐ .

📍 ลานแสงจันทร์ และริมคลองสหัสวรรษ (คลอง ๒๐๐ ปี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

.

พิธีเปิดวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป

.

พบกับกิจกรรม:

🪷สาธิตประดิษฐ์กระทงใบตอง

🪷การประกวดกระทงสวยงามและสร้างสรรค์

🪷กิจกรรมกระทงบุฟเฟ่ต์

🪷การแสดงดนตรี

🪷ฉายหนังกลางแปลง

🪷การออกร้านจำหน่ายสินค้า

.

#สมัครร้านค้า 🙋‍♀️ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถกรอกใบสมัครและโอนเงินค่าบูธ จำนวน 2,000 บาท ได้ที่ https://forms.gle/CzDCCbgzFdy3Gx4J7

รับสมัครภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 / รับจำนวนจำกัดเพียง 70 บูธ เท่านั้น!

💰สมัครและโอนเงินก่อน มีสิทธิ์ก่อน

หมายเหตุ : จะได้รับบูธขนาด 3x3 เมตร และปลั๊กไฟขนาด 5 แอมป์ จำนวน 1 จุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 📞091-849-5900 (วุฒินันท์📞080-5488789 (อับดลรอนี📞087-3999937 (สุนิตา)

.

🎉🎉ติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง

จากสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ได้ที่

Facebook : m.me/culture.psu

Website : http://culture.psu.ac.th

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu

Tiktok : https://www.tiktok.com/@culture.psu

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCqj59u0rEtnAxRrFz5o0ISg

Tel : 073-331-250

.

#ลอยกระทง2567 #PSU #CulturePSU  #สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

สถาบันฯ ร่วมกับกลุ่มทอผ้าจวนตานีบ้านตรังและพุทธบริษัทชุมชนชาวบ้านตรัง ร่วมทอดกฐินสามัคคี ณ วัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง)

๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์  พุ่มเกิด  รองผู้อำนวยการพร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมกับกลุ่มทอผ้าจวนตานีบ้านตรังและพุทธบริษัทชุมชนชาวบ้านตรัง ร่วมทอดกฐินสามัคคี  ณ วัดประเวศน์ภูผา (วัดบ้านตรัง) ต.ตรัง  อ.มายอ จ.ปัตตานี

บุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมงานสมโภชองค์กฐิน และร่วมทอดกฐินสามัคคี ณ วัดยานิการาม (วัดยาบี) ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗

บุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ได้ร่วมงานสมโภชองค์กฐิน ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยสถาบันฯ นำการแสดงจากคณะมโนราห์ สถาบันฯ ม.อ.ปัตตานี และคณะหนังตะลุง ร่วมแสดงในงานสมโภชครั้งนี้ พร้อมทั้งได้ร่วมทอดกฐินสามัคคี ณ วัดยานิการาม (วัดยาบี) ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

#มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #วิทยาเขตปัตตานี #ทอดกฐิน #วัดยานิการาม

ขอบคุณภาพจาก ศูนย์สื่อสารองค์กรและกิจการนานาชาติ วิทยาเขตปัตตานี

บุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา พร้อมคณะกรรมการฝ่ายเรี่ยไรกฐิน ออกเรี่ยไรกฐินในเขตเมือง จ.ปัตตานี ม.อ.ปัตตานี เป็นเจ้าภาพ

๒๑-๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗

 

บุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา พร้อมคณะกรรมการฝ่ายเรี่ยไรกฐิน ออกเรี่ยไรกฐินในเขตเมือง จ.ปัตตานี เพื่อนำจตุปัจจัยซ่อมแซมและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในวัด  ณ วัดยานิการาม (วัดยาบี) ตำบลยาบี  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี  ในวันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ วัดยานิการาม (วัดยาบี) ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ต้อนรับคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนใต้

๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ต้อนรับคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมชายแดนใต้ หอวัฒนธรรมภาคใต้ และชมการสาธิตการทำผ้าลีมาบาติก ณ ศูนย์เรียนรู้หัตถศิลป์ ม.อ.ปัตตานี เพื่อศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิต ลวดลายสถาปัตยกรรมในพื้นที่ และภูมิปัญญาด้านต่างๆ ต่อยอดในงานวิจัย โดยมี นายสราวุฒิ เดชกมล เป็นผู้นำชม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบัน และพระครูใบฏีกาศักรินทร์ ผู้รู้ในท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบข้อมูล สำรวจพื้นที่ และพรรณไม้ จากแผนที่กัลปนาวัดบนคาบสมุทรสทิงพระในสมัยอยุธยา