โครงการฝึกซ้อมและถ่ายทอดการรำโนรา ครั้งที่ ๑๑

📣📣สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (ปัตตานี) ขอเชิญชวนนักเรียน  นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่สนใจสมัครเข้าร่วม โครงการฝึกซ้อมและถ่ายทอดการรำโนรา ครั้งที่ ๑๑ ✨

.

🗓เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ ถึง ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป 📍ณ อาคารหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวันและเวลาราชการเท่านั้น

.

👉ดาวน์โหลดใบสมัครและตารางการเรียน https://link.psu.th/WAxvhq

.

รายละเอียด:

สามารถยื่นใบสมัครได้ตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตร

จำนวนชั่วโมงเรียน 25 ชั่วโมง/ช่วง

เริ่มเรียนช่วงที่ 1 มกราคม – เมษายน 2568 / ช่วงที่ 2 มิถุนายน – กันยายน 2568        

เรียนทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เวลา 17.00 – 18.00 น.

ค่าลงทะเบียน 1,500  บาท/คอร์ส

*ฟรี ‼ สำหรับเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  (รับจำนวนจำกัด)

.

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา โทรศัพท์ 073-331-250

หรือผู้ประสาน นางภัทรมาส พรหมแก้ว หัวหน้าโครงการฝึกซ้อมและถ่ายทอดการรำโนรา ครั้งที่ 11 มือถือ 083-398-5680 เบอร์ภายใน 1479

บทความวิจัย ในรอบปี 2566-2567 ที่ได้รับการตีพิมพ์ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บุหงาซิเร๊ะ บ้านท่าคลอง จังหวัดปัตตานี”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญชวนอ่าน #บทความวิจัย ในรอบปี 2566-2567 ที่ได้รับการตีพิมพ์

เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์บุหงาซิเร๊ะ บ้านท่าคลอง จังหวัดปัตตานี”

.

ตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลวารสาร TCI กลุ่ม 1

.

อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/265454?fbclid=IwY2xjawGxEgtleHRuA2FlbQIxMAABHSl9QAbZ0R24TDSqlhnaJEiOKFvSaB6FQx10oVsgtaXlQuCW32xIsdpdog_aem_wBnBFArGduYzUOxu1Md24A

.

ผู้เขียน:

– นิปาตีเมาะ หะยีหามะ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

.

Keyword: ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว , ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว, วิสาหกิจชุมชน, coconut products, packaging development, community enterprise

.

ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่

Website : https://culture.psu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/

Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu     

 

Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu

ชวนอ่านบทความวิจัย ในรอบปีที่ได้รับการตีพิมพ์ เรื่อง“วิถีชีวิตตามพิธีกรรมและความเชื่อของคนเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญชวนอ่าน #บทความวิจัย ในรอบปีที่ได้รับการตีพิมพ์

เรื่อง“วิถีชีวิตตามพิธีกรรมและความเชื่อของคนเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง”

.

ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรมโรงเรียนพระปริยัติสามัญวัดสระเรียง ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 (2024): ตุลาคม 2567 ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลวารสาร TCI กลุ่ม 1

.

อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/277150?fbclid=IwY2xjawGxEEpleHRuA2FlbQIxMAABHRBAt2w6anblwsAZieZva_4TxsDcaMRRikVXgXEu5bq9RdoHAvTXyo-v4A_aem_M0f-8I6Ck5ar9UkTYmRM5w

.

ผู้เขียน:

– นางอ้อมใจ วงษ์มณฑา นักวิชาการอุดมศึกษาชำนาญการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

– ผศ.ดร.อารีย์ ธรรมโคร่ง สาขาวิชาศิลปะการคิดเพื่อการพัฒนามนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.

– ผศ.ดร.อัมพร ศิลปเมธากุล สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.

.

Keyword:  วิถีชีวิต, พิธีกรรม, ความเชื่อ, คนเลี้ยงวัวชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Lifestyle, Rituals, Beliefs, Cowherds, Local Wisdom

.

#วัวชน #วิถีชีวิตชาวบ้าน #ภูมิปัญญาท้องถิ่น #ตรัง #วัฒนธรรมพื้นบ้าน #บทความวิจัย #สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา #TCI #บทความน่าอ่าน #การศึกษาไทย #พิธีกรรมและความเชื่อ #สังคมศาสตร์ #มนุษยศาสตร์

.

ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่

Website : https://culture.psu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/

Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu     

Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu

นักวิจัยสถาบันฯ ร่วมลงพื้นที่กับนักศึกษาจากภาควิชาศิลปะอุตสาหกรรม ศิลปะการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยานิพนธ์ หัวข้อเรื่อง “ โครงการออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะมลายู”

เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลป์ยาณิวัฒนา โดย นางสาวรอฮานี ดาโอ๊ะ นักวิจัย สถาบันฯ ร่วมลงพื้นที่กับ นางสาวชุติกาญจน์ อมรพิศาลมิตร นักศึกษาจากภาควิชาศิลปะอุตสาหกรรม ศิลปะการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยานิพนธ์ หัวข้อเรื่อง “ โครงการออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะมลายู” โดยมีการพบปะและสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านศิลปะและการออกแบบและงานหัตถศิลป์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้แก่ การวาดลวดลายเรือกอและ การทำว่าวมลายู การแกะสลักงานไม้ การออกแบบเครื่องประดับลวดลายมลายู การปักและเย็บหมวกกะปิเยาะห์ การออกแบบและผลิตงานหัตถกรรมจากกาบกล้วย การออกแบบและผลิตผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก การเขียนคอฏและลวดลายที่เกี่ยวข้อง (การเขียนอักษรประดิษฐ์ด้วยอักษรอาหรับหรือมลายู) โดยในช่วงท้ายของการลงพื้นที่ได้มีการสรุปผลที่ได้จากการลงพื้นที่ร่วมกันเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบงานตามหัวข้อวิทยานิพนธ์ต่อไป

งาน “สีสันแห่งสายน้ำ ประเพณีลอยกระทง ประจำปี ๒๕๖๗”

ม.อ.ปัตตานี โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา จัดงาน “สีสันแห่งสายน้ำ ประเพณีลอยกระทง” ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย 🎇 🪷🪷

.

วันที่ ๑๕  พฤศจิกายน ๒๕๖๗  ณ บริเวณถนนริมคลองสะพานสหัสวรรษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา     จัดงานสีสันแห่งสายน้ำ ประเพณีลอยกระทง   โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการวิทยาเขตปัตตานี  เป็นประธานเปิดงาน   ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข  ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  กล่าววรายงาน  ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของประเพณีลอยกระทง

.

กิจกรรมภายในงานมีความหลากหลายและสนุกสนาน รวมถึงการสาธิตการประดิษฐ์กระทงใบตอง การประกวดกระทงทั้งประเภทสวยงามและประเภทความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมกระทงบุฟเฟ่ต์ การแสดงดนตรี การฉายหนังกลางแปลง และการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสบรรยากาศงานวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง โดยงานจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖  พฤศจิกายน ๒๕๖๗ 

.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการวิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ และถือเป็นโอกาสที่ช่วยให้เราตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีต  ประเพณีลอยกระทงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่แสดงถึงเอกลักษณ์และความงดงามของชาติไทย ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้สึกเป็นสุขแล้ว ยังเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่คงคาอีกด้วย  

.

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์ของการลอยกระทงคือการแสดงความเคารพ ขอบคุณ และขอขมาต่อพระแม่คงคา อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุธรรมชาติในการประดิษฐ์กระทงซึ่งเป็นการลดมลภาวะไปในตัว งานนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ทำให้เห็นว่าประเพณีไทยยังคงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านเดินดิน (เบญจเมธาเซรามิก) อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านเดินดิน (เบญจเมธาเซรามิก) อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เพื่อร่วมมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สร้างเครือข่าย แบ่งปันแนวคิด แลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ วิธีการทำงานที่สร้างสรรค์  และพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืนในอนาคต

[บทความจุลสาร] วันวานยังหวานอยู่ : รำลึกบรรยากาศในอดีตกับขนมจีน น้ำแข็งใสในตลาดนัด

อากาศใกล้เที่ยงวันนี้ร้อนจัดย้อนแย้งกับวสันตฤดูยิ่งนัก ฉันรู้สึกอยากทานขนมจีนน้ำยาเครื่องแกงแบบชายแดนใต้ปิดท้ายด้วยน้ำแข็งไสให้เย็นชื่นใจในบรรยากาศแบบเก่าเมื่อสมัยยังเยาว์วัย จึงตัดสินใจขี่มอเตอร์ไซค์คันเล็กไปเรื่อย ๆ ตามถนนสองเลนส์เล็ก ๆ ด้านหลังหน่วยงานที่ทำงาน จุดหมายปลายทางของฉันในวันนี้คือขนมจีนกับน้ำแข็งไสในตลาดสดและบางวันก็จะมีตลาดนัด ตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเราเรียกสั้น ๆ ว่า ตลาดพิธาน

หลังจากหาสถานที่จอดรถมอเตอร์ไซค์เสร็จ ฉันเดินตรงเข้าไปยังตลาดด้านซ้ายมือถัดจากร้านขายผลไม้สดและร้านขายปลาแห้ง ณ ที่แห่งนั้นคือจุดหมายแห่งการกินเพื่อรำลึกบรรยากาศแต่เก่าก่อนในวันนี้ ฉันสั่งขนมจีนน้ำยามาหนึ่งจาน ระหว่างที่รอแม่ค้าจัดเตรียมขนมจีน ฉันเลื่อนเก้าอี้ไม้แบบยาวให้เข้ามาชิดกับโต๊ะมากขึ้น ร้านนี้มีโต๊ะและเก้าอี้อย่างละ 2 ตัว สำหรับจัดวางอาหารพร้อมนั่งทาน 1 ชุด และอีกชุดสำหรับนั่งทานเพียงอย่างเดียว

 

ร้านแห่งนี้มีขายเพียงขนมจีนน้ำยา น้ำแกงไตปลา น้ำแกงปลากะทิสีขาวสำหรับทานกับละแซ* (อาหารชนิดเส้นผลิตจากแป้งมีลักษณะคล้ายกับขนมจีนแต่เส้นแบน พบและเป็นที่นิยมทานกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้) กับน้ำแข็งไสซึ่งปรับรูปแบบมาไสกับเครื่องไฟฟ้าต่างจากสมัยก่อนที่ไสด้วยมือ

ระหว่างนั่งทานฉันได้ชวนแม่ค้าซึ่งเพิ่งทราบชื่อว่า กะเราะห์ คุยไปพลางๆ กะเราะห์เล่าว่าเริ่มขายขนมจีนกับน้ำแข็งไสมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก เมื่อเรียบจบชั้นประมศึกษาปีที่ 6 ออกมาช่วยแม่ขายของอย่างเต็มตัว จนมีครอบครัว ตอนนี้กะเราะห์อายุ 52 ปี คิดเป็นระยะเวลาที่ขายขนมจีนกับน้ำแข็งไสตั้งแต่ตอนนั้นถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 45 ปี พร้อมเล่าว่าสมัยก่อนร้านนี้จะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง แต่เมื่อมีการปรับปรุงตลาดจึงได้ย้ายมาขายประจำฝั่งนี้ หากเดินมาจากด้านหน้าตลาดฝั่งห้างไดอาน่าร้านกะเราะห์จะอยู่ด้านซ้ายมือ ส่วนฝีมือ รสชาติอาหารที่ขายนั้นได้เรียนรู้ฝึกฝนและสืบทอดมาจากแม่ 

ร้านขนมจีนน้ำแข็งไสกะเราะห์จะเปิดตั้งแต่เวลา 09.00 .15.00 . เปิดทุกวันยกเว้นวันจันทร์ เพราะตลาดจะปิดเพื่อทำความสะอาด ขนมจีนของร้านกะเราะห์มีลูกค้าที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ขายในตลาด ชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด หรือแวะมาเพื่อซื้อขนมจีนเจ้านี้โดยเฉพาะ ระหว่างที่ฉันนั่งทานอยู่นั้น สังเกตเห็นว่ามีลูกค้ามาซื้อขนมจีนกับน้ำแข็งไสตลอดเวลา มีทั้งที่นั่งทานที่ร้านและซื้อใส่ถุงกลับไปทานที่บ้าน ราคาของขนมจีนร้านนี้ไม่แพง จานใหญ่แบบอิ่ม ๆ จานละ 30 บาท น้ำแข็งไสถ้วยใหญ่ ถ้วยละ 20 บาท

ได้ทานขนมจีนรสชาติสไตล์ชายแดนใต้ในราคาไม่แพง ในบรรยากาศที่มีชีวิตชีวารายล้อมด้วยร้านค้าหลากหลาย เก้าอี้ไม้ยาวนั่งได้ 3-4 คน ระหว่างนั่งรอได้ยินเสียงน้ำแข็งไสครืด ๆ ทำให้นึกถึงบรรยากาศอันแสนสุขใจในวันวานที่วันนี้ยังพอหาซื้อและสัมผัสได้ ณ เมืองตานีชายแดนใต้แห่งนี้

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลและอนุญาตให้บันทึกภาพ

กะเราะห์ ร้านขนมจีนกะเราะห์ ตลาดนัดพิธาน จังหวัดปัตตานี

 

เรียบเรียงบทความจุลสาร

โดย รอฮานี ดาโอ๊ะ นักวิจัยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

สถาบันฯ ร่วมแสดงความยินดีและร่วมชมผลงานศิลปนิพนธ์นักศึกษาสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ครั้งที่ ๑๐ “Step points” คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ  ร่วมแสดงความยินดีและร่วมชมผลงานศิลปนิพนธ์นักศึกษาสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ครั้งที่ ๑๐ “Step points” คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ซึ่งกำหนดจัดแสดงนิทรรศการระหว่างวันที่ ๖-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗  ณ หอศิลป์ภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

#Steppoints #ออกแบบประยุกต์ศิลป์ #PSUpattani #PSU

สถาบันฯ ร่วมแสดงแสดงความยินดีและชมแฟชั่นโชว์ “Glamour Genesis” ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ  ร่วมแสดงแสดงความยินดีและชมแฟชั่นโชว์ “Glamour Genesis” ของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโครงการศิลปนิพนธ์ ณ หอศิลป์ภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี