นางสาวสุภาพร วุกถ้อง และนายญานพัฒน์ สูตรประจัน ผู้แทนสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรมทดลองท่องเที่ยวคอหงส์ (Green Destination) ในโครงการวิจัย “การยกระดับ ห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยวสู่จุดหมายปลายทางสีเขียวเมืองคอหงส์” วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 นางสาวสุภาพร วุกถ้อง และนายญานพัฒน์ สูตรประจัน ผู้แทนสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรมทดลองท่องเที่ยวคอหงส์ (Green Destination) ในโครงการวิจัย “การยกระดับ ห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยวสู่จุดหมายปลายทางสีเขียวเมืองคอหงส์” ซึ่งจัดโดย คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ ณ พื้นที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ขอขอบคุณ กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ไว้วางใจใช้บริการห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ในการจัดโครงการพัฒนาที่ปรึกษาองค์กรกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยาย “แนวคิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) ผ่านกิจกรรมนักศึกษา ขอขอบคุณ กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ไว้วางใจใช้บริการห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ในการจัดโครงการพัฒนาที่ปรึกษาองค์กรกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยาย “แนวคิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) ผ่านกิจกรรมนักศึกษา โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ ชั้น 3 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่——————#ห้องประชุมยุคใหม่ ราคาเบาๆ#จัดห้องได้หลากหลาย ตามไสต์การจัดงาน#ห้องภูมิปัญญศิลป์ สำหรับจัดประชุม/อบรม/สัมมนา สถานที่สวยงาม กว้างขวาง อุปกรณ์ครบครัน รองรับได้กว่า 300 คนสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอนุชิต โทร. 074-289682 หรือ 080-4149479
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา Faculty of Science, Universiti Putra Malasia วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา Faculty of Science, Universiti Putra Malasia เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นใต้ นิทรรศการ “Meaning of Difference Art Exhibition” และร่วมกิจกรรมเรียนรู้การร้อยลูกปัดโนรา ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่———————-#กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมตามอัธยาศัย#นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นใต้PSU Art Gallery#การเรียนรู้ศิลปะการแสดงและดนตรีไทยนาฏศิลป์, โขน, โนรา, ดนตรีไทย#การเรียนรู้หัตถกรรมและภูมิปัญญาการร้อยพวงกุญแจลูกปัดโนราการทำผ้าเช็ดหน้ามัดย้อมหัตถกรรมและภูมิปัญญาอื่นๆ#การเรียนรู้อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยขนมโค และ น้ำสมุนไพรบัวลอย และ น้ำสมุนไพรอาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยอื่น ๆ———————สอบถามเพิ่มเติม : สำนักงานบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร. 074289680-2 (คุณศจีพรรณ)
นางสาวสิริมา ยืนยง ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดบาสโลบ ในงานสมโภชเจ้าพ่อคอหงส์ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2568 นางสาวสิริมา ยืนยง ครูผู้สอนนาฏศิลป์ไทยประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดบาสโลบ ในงานสมโภชเจ้าพ่อคอหงส์ ประจำปี 2568 จัดโดยสำนักงานเทศบาลเมืองคอหงส์ ณ พุทธอุทยานสำนักสงฆ์สัจจธรรมบ้านในไร่ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตปัตตานี ครั้งที่ 43 (4/2568) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ “ประชุมสัญจร” ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 30 เมษายน 2568ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาเขตปัตตานี ครั้งที่ 43 (4/2568) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ “ประชุมสัญจร” ณ สถานีบริการวิชาการชุมชนเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยมี ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี เป็นประธาน.การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยกับพื้นที่จริง ผ่านการลงพื้นที่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติระดับพื้นที่.ในการนี้สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอด้านการใช้มิติทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชน พร้อมร่วมกิจกรรมเสวนาและเยี่ยมชมโครงการความร่วมมือระหว่างสถานีบริการวิชาการกับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของสถาบันในการสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. ขอบคุณภาพจาก ศูนย์สื่อสารองค์กรและกิจการนานาชาติ ม.อ.ปัตตานี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพและประธานในพิธีฌาปนกิจศพคุณพ่อบัญชา แก้วสุข บิดาของนางสาวปานรดา เจริญพัฒนกิจ วันที่ 28-29 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพและประธานในพิธีฌาปนกิจศพคุณพ่อบัญชา แก้วสุข บิดาของนางสาวปานรดา เจริญพัฒนกิจ บุคลากรสถาบันฯ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมีบุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี ร่วมแสดงความเสียใจในครั้งนี้ ณ วัดคลองคล้า ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
คณะผู้บริหารและบุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ในฐานะดูแลเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้การต้อนรับประธานกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่าย The ASEAN Youth Cultural Forum Thailand (AUN-AYCF Thailand) และคณะผู้แทนจาก AUN-AYCF Thailand วันที่ 28 เมษายน 2568 คณะผู้บริหารและบุคลากรสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ในฐานะดูแลเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้การต้อนรับประธานกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่าย The ASEAN Youth Cultural Forum Thailand (AUN-AYCF Thailand) และคณะผู้แทนจาก AUN-AYCF Thailand เพื่อสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัย เรื่อง “การสร้างสรรค์บทเพลงไทย: เพลงชุดเบญจสายใยมหาวิทยาลัย AUN – AYCF Thailand” ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่——————-#AUN-AYCF#สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่
คณะผู้วิจัยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน : ขี้ผึ้งสมุนไพรใบเลียบ หนุนเสริมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด คาบสมุทรสทิงพระ ดำเนินการทดลองทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรใบเลียบ วันที่ 28 เมษายน 2568 คณะผู้วิจัยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน : ขี้ผึ้งสมุนไพรใบเลียบ หนุนเสริมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยบ้านเกิดหลวงปู่ทวด คาบสมุทรสทิงพระ ดำเนินการทดลองทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรใบเลียบ โดยได้รับความรู้จาก พท.มูฮัยมีน รีมานิ นักวิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเอื้ออำนวยสถานที่ทำการทดลองผลิตภัณฑ์ ณ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่——————#โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามรอยอารยธรรมเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล#สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่#สถาบันสุวรรณภูมิ#วัดต้นเลียบ ที่ฝังรกหลวงปู่ทวด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด และคุณโชติรส ตันจ้อย บุคลากรสถาบันฯและผู้ร่วมวิจัย เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและร่วมโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรม ประจำปี 2568 วันที่ 26 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด และคุณโชติรส ตันจ้อย บุคลากรสถาบันฯและผู้ร่วมวิจัย เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและร่วมโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรม ประจำปี 2568 ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา.ทั้งนี้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สนับสนุนการยกระดับการพัฒนา กลุ่มวิสาหกิจ และผู้ประกอบการ ด้านผ้า กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าจวนตานี บ้านตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ภายใต้ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าโบราณ : มรดกวัฒนธรรมบนเส้นทางข้ามคาบสมุทรดินแดนสุวรรณภูมิ กลุ่มมัดย้อมบ้านปริก อ.เทพา จ.สงขลา, กลุ่มเชือกกล้วย ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้โครงการยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science Technology and Innovation for OTOP Upgrade)————————————————-#ผ้าไทยใส่ให้สนุก#สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาวิทยาเขตหาดใหญ่#สถาบันสุวรรณภูมิ#ผ้าทอจวนตานีบ้านตรัง#ผ้าลีมาบาติก#กลุ่มมัดย้อมบ้านปริก by ยังเพ#OTOP#พช.
ม.อ.ปัตตานี ร่วมพิธีรับมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” เพื่อสืบสานภูมิปัญญาและพัฒนาผ้าไทยสู่สากล วันที่ 30 เมษายน 2568 ดร.ปิติ มณีเนตร รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าร่วมพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี.พิธีดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการสร้างการรับรู้ภูมิปัญญาผ้าไทยและผ้าลายพระราชทาน โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มทอผ้า ผู้ผลิตผ้า และผู้ประกอบการ OTOP ในจังหวัดปัตตานี.การรับมอบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแบบลายผ้าพระราชทานเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตกรรมในทุกภูมิภาค ตลอดจนน้อมนำแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล