ม.อ. เข้าร่วมพิธีรับมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์”

ม.อ. เข้าร่วมพิธีรับมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์”

วันที่ 21 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ เข้าร่วมพิธีรับมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริราชพัสตราภรณ์” เพื่อนำแบบลายผ้าพระราชทานเป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตกรรมในทุกภูมิภาคตลอดจนน้อมนำแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล ณ ห้องประชุมนิวัติ กลิ่นงาม อาคาร 75 ชั้น 6 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้การต้อนรับนักเรียนและนักศึกษา จากโครงการค่ายก่อร่าง สร้างครู ครั้งที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วันที่ 18 เมษายน 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้การต้อนรับนักเรียนและนักศึกษา จากโครงการค่ายก่อร่าง สร้างครู ครั้งที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อร่วมเรียนรู้การร้อยลูกปัดโนราห์ ณ อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
———————-
กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมตามอัธยาศัย
#PSU Art Gallery
นาฏศิลป์, โขน, โนรา, ดนตรีไทย
การร้อยพวงกุญแจลูกปัดโนรา
การทำผ้าเช็ดหน้ามัดย้อม
หัตถกรรมและภูมิปัญญาอื่น ๆ
#การเรียนรู้อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทย
ขนมโค และ น้ำสมุนไพร
บัวลอย และ น้ำสมุนไพร
อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยอื่น ๆ
———————
สอบถามเพิ่มเติม : สำนักงานบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร. 074-289680-2 (คุณศจีพรรณ)

ปิดเทอม!! เปิดประสบการณ์เรียนรู้ผ่าน นิทรรศการ “Meaning of Difference Art Exhibition”

ขอเชิญชมนิทรรศการ “Meaning of Difference Art Exhibition” ผลงานของศิลปินไทย-มาเลเซีย
👨‍🎨LEE CHOON KOOI
👨‍🎨LOO HOOI NAM
👨‍🎨YEE QI HUI
👨‍🎨MUHAMMAD ROJANA-UDOMSAT
👨‍🎨RAPEEPAT PHONRATTANAPAIBOON
.
ระหว่างวันที่ 8 เมษายน – 9 พฤษภาคม 2568 ณ ชั้น 2 PSU Art Gallery สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
.
📌เข้าชมฟรี‼️
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดให้บริการ เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารสถาบัน ชั้น 1 อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร. 074-289680-2

ม.อ. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีอันดีงาม “ทำบุญเดือน ๕ ห่มผ้าพระนอน ปิดทองหัวใจพระ”

ม.อ. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีอันดีงาม “ทำบุญเดือน 5 ห่มผ้าพระนอน ปิดทองหัวใจพระ”
.
วันที่ 11 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีอันดีงาม “ทำบุญเดือน 5 ห่มผ้าพระนอน ปิดทองหัวใจพระ” โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีบวงสรวงองค์หลวงพ่อพระพุทธมหัตตมงคล องค์หลวงพ่อพันปี บูรพาจารย์หลวงพ่ออดีตเจ้าอาวาส และเปิดงานทำบุญเดือน 5 ห่มผ้าพระนอน และปิดทองหัวใจพระพุทธมหัตตมงคล ณ วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน) อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา
.
ขอบคุณภาพจาก : เพจ Pr.Songkhla ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมกิจกรรมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568

วันที่ 10 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมกิจกรรมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมสานสัมพันธ์ให้กับบุคลากรสายอำนวยการระหว่างหน่วยงานสนับสนุนภารกิจกลางของมหาวิทยาลัย ณ บริเวณลานประดู่ (ลานด้านขวาพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนก) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒ เมษายน ๒๕๖๘
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ อาคารศรีเกียรติพัฒน์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย

 “วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน”

        วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ

        คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ “มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา”

        คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา

โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 28 คน ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ

การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่าน มาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 – 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2535 เป็นต้นมา คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดงานใหม่โดยให้มีทิศทางในการจัดงานแน่นอน คือการกำหนดหัวเรื่องของการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทย ปีพุทธศักราช 2536 เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย

        การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม

——————————-

อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.

ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี

 

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยนางสาวสิริมา ยืนยง และนายกำพล เลื่อนเกื้อ บุคลากรสถาบันฯ นำนักศึกษาร่วมแสดงในงานเลี้ยงรับรองโครงการสัมมนาวิชาการเครือข่ายรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และเครือข่ายการวางแผนอุดมศึกษา ประจำปี 2568

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยนางสาวสิริมา ยืนยง และนายกำพล  เลื่อนเกื้อ บุคลากรสถาบันฯ นำนักศึกษาร่วมแสดงในงานเลี้ยงรับรองโครงการสัมมนาวิชาการเครือข่ายรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และเครือข่ายการวางแผนอุดมศึกษา ประจำปี 2568 ภายใต้หัวข้อ “การวางแผนอุดมศึกษาสู่อนาคตแห่งการพัฒนาองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลโดยใช้เครื่องมือบริหารจัดการสมัยใหม่” ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา

การแสดงชุด ระบำสี่ภาค

     เป็นผลงานการสร้างสรรค์ที่รวบรวมเอาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยของแต่ละภูมิภาคมาผสมผสานกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงท่วงท่าลีลาท่ารำ ตลอดจนสำเนียงดนตรี การแต่งกาย และอาชีพที่แตกต่างกันออกไป สะท้อนถึงความงดงาม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย ถึงแม้จะอยู่คนละภาคกัน อาจต่างซึ่งสำเนียงภาษา ขนบธรรมเนียม ศาสนา และวัฒนธรรม

การแสดงชุด รำโนราผสมท่า

     โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานานและนิยมอย่างแพร่หลายใน พื้นที่ภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีแบบแผนการร่ายรำ การขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ มี ดนตรีเป็นลูกคู่เล่นรับส่งตลอดการแสดง ผู้รำโนราสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัด หลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวทำด้วยโลหะ การแสดงบางส่วน เล่นเป็นเรื่อง และบางส่วนแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม ผู้คนรู้จักโนราในฐานะที่ เป็นมหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา เป็นนาฏยลักษณ์ของคนใต้ซึ่ง ปัจจุบัน โนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของทางภาคใต้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติแม้ปัจจุบัน โนรา จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามยุคสมัย แต่ยังคงความงดงาม และการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ขอบคุณภาพจาก เพจ Prince of Songkla University

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมงานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568 (PRIDE of PSU 2025)

วันที่ 13 มีนาคม 2568 ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมงานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568 (PRIDE of PSU 2025) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ขอบคุณภาพจากเพจ Prince of Songkla University

งานวิพิธทัศนา ประจำปี ๒๕๖๘

ภาพกิจกรรมงาน #วิพิธทัศนา
เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๘ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดโครงการวิพิธทัศนา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมเป็นประธานในพิธี ณ ห้องภูมิปัญศิลป์ ชั้น ๓ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
.
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการสอนกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับเยาวชนทั้งนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทย โขน และศิลปะพื้นบ้านโนรา เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักและรักในวัฒนธรรมไทย อีกทั้งทำให้เกิดประสบการณ์ตรงในการสืบสานเผยแพร่ ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกัน ทั้งนี้สถาบันฯ จึงได้จัดโครงการวิพิธทัศนาขึ้น ซึ่ง “วิพิธทัศนา” มีความหมายว่า การจัดการแสดงหลาย ๆ ประเภท และนำมาแสดงอย่างต่อเนื่องในสถานที่แสดงเดียวกัน โครงการนี้จึงเป็นการแสดงผลงานของเยาวชนกลุ่มนาฏศิลป์ไทย กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มโขน และกลุ่มศิลปะพื้นบ้านโนรา พร้อมทั้งรับเกียรติบัตรเพื่อร่วมแสดงความยินดีไปในคราวเดียวกันด้วย
.
ดาวน์โหลดภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ : https://storage.psu.ac.th/…/GuqnnLAFlbf1RWZ7lHUz1z7X5Mw…
.
ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ :