ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมงานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568 (PRIDE of PSU 2025) วันที่ 13 มีนาคม 2568 ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมงานคุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568 (PRIDE of PSU 2025) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ขอบคุณภาพจากเพจ Prince of Songkla University#คุณค่าสงขลานครินทร์#PrideofPSU2025#มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
งานวิพิธทัศนา ประจำปี ๒๕๖๘ ดาวน์โหลดภาพกิจกรรมทั้งหมด ภาพกิจกรรมงาน #วิพิธทัศนาเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๘ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดโครงการวิพิธทัศนา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมเป็นประธานในพิธี ณ ห้องภูมิปัญศิลป์ ชั้น ๓ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการสอนกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม สำหรับเยาวชนทั้งนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทย โขน และศิลปะพื้นบ้านโนรา เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักและรักในวัฒนธรรมไทย อีกทั้งทำให้เกิดประสบการณ์ตรงในการสืบสานเผยแพร่ ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกัน ทั้งนี้สถาบันฯ จึงได้จัดโครงการวิพิธทัศนาขึ้น ซึ่ง “วิพิธทัศนา” มีความหมายว่า การจัดการแสดงหลาย ๆ ประเภท และนำมาแสดงอย่างต่อเนื่องในสถานที่แสดงเดียวกัน โครงการนี้จึงเป็นการแสดงผลงานของเยาวชนกลุ่มนาฏศิลป์ไทย กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มโขน และกลุ่มศิลปะพื้นบ้านโนรา พร้อมทั้งรับเกียรติบัตรเพื่อร่วมแสดงความยินดีไปในคราวเดียวกันด้วย.ดาวน์โหลดภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ : https://storage.psu.ac.th/…/GuqnnLAFlbf1RWZ7lHUz1z7X5Mw….ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ :Website : https://culture.psu.ac.th/Facebook : https://www.facebook.com/culture.psuInstagram : https://www.instagram.com/culture.psu/Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psuTiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu
วัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกันระดมความคิดเห็นอันทรงคุณค่า เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและรักษามรดกโขน ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกันระดมความคิดเห็นอันทรงคุณค่า เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและรักษามรดกโขน ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ณ ห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมี ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด.การจัดงานในครั้งนี้มี นักเรียน นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปิน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดแนวทางการสืบทอด อนุรักษ์ และปกป้องมรดกโขนให้คงอยู่ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการอบรมศิลปวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการอบรมศิลปวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านโนรา รับสมัครเยาวชนอายุตั้งแต่ 6-17 ปี อัตราค่าสมัคร 2,000 บาท เรียนทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00-12.00 น.กิจกรรมโขน รับสมัครเยาวชนอายุตั้งแต่ 6-15 ปี อัตราค่าสมัคร 2,000 บาท เรียนทุกวันอาทิตย์กลุ่มที่ 1 เวลา 09.00-11.00 น.กลุ่มที่ 2 เวลา 12.00-14.00 น.กลุ่มที่ 3 เวลา 14.00-16.00 น.กิจกรรมดนตรีไทย รับสมัครเยาวชนอายุตั้งแต่ 7-13 ปี อัตราค่าสมัคร 2,000 บาท เรียนทุกวันอาทิตย์กลุ่มมีพื้นฐาน เวลา 10.00-12.00 น.กลุ่มไม่มีพื้นฐาน เวลา 13.00-15.00น.กิจกรรมนาฏศิลป์ รับสมัครเยาวชนอายุตั้งแต่ 4-10 ปี อัตราค่าสมัคร 2,000 บาท เรียนทุกวันอาทิตย์กลุ่มอายุ 4-6 ปี เวลา 10.00-12.00 น.กลุ่มอายุ 7-10 ปี เวลา 13.00-15.00 น.ทุกกลุ่มกิจกรรมเริ่มเรียนวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 รับจำนวนจำกัด!! รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 15 พฤษภาคม 2568 (ปิดรับสมัครเมื่อครบจำนวน !!) ในวันและเวลาราชการสมัครออนไลน์ได้ที่ : สแกน QR Code หรือ Link : https://sites.google.com/view/acc-activity/—————–สอบถามรายละเอียดได้ที่อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่โทร 074-289680-2 หรือนาฏศิลป์ 0624629366 (ครูหวาย)ดนตรีไทย 0869670949 (ครูหนุ่ย)โขน 084-1944447 (ครูจอม)โนรา 091-0419169 ( ครูเอ็ม)
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ศิลปิน และผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เชิญชวนทุกท่านร่วมขับเคลื่อนมรดกโขนของชาติ!กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ขอเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ศิลปิน และผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ในวันที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ รูปแบบ Hybrid (Onsite & Online)มาร่วมกันระดมความคิดเห็นอันทรงคุณค่า เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและรักษามรดกโขน ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยท่านสามารถเลือกเข้าร่วมกลุ่มย่อยตามประเด็นที่สนใจได้ ดังนี้:•การอนุรักษ์และสืบทอดองค์ความรู้ด้านโขน•การพัฒนาและต่อยอดมรดกโขน•การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์โขนสู่สาธารณะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตโขนไทย ให้คงอยู่คู่สังคมไทยและสืบสานสู่ระดับสากลไปด้วยกันลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่:•ลิงก์ลงทะเบียน: https://forms.gle/5gxDF9sQcP63qkjA7#มรดกโขน #โขนไทย #กรมส่งเสริมวัฒนธรรม**ข้อมูลจาก : เพจ KHON โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (หาดใหญ่) ให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 4 มีนาคม 2568สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (หาดใหญ่) ให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นใต้ และ นิทรรศการ Colors of Shibori “ชมเสน่ห์แห่งคราม และความมหัศจรรย์ของสีสันจากธรรมชาติ จินตนาการ ที่ไม่สิ้นสุด ของการมัดย้อม สไตล์ชิโบริิ” โดย อาจารย์ศรุดา กันทะวงค์ ณ PSU Arts Gallery ชั้น 2 อาคารศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่———————-#กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมตามอัธยาศัย#นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นใต้PSU Art Gallery#การเรียนรู้ศิลปะการแสดงและดนตรีไทยนาฏศิลป์, โขน, โนรา, ดนตรีไทย#การเรียนรู้หัตถกรรมและภูมิปัญญาการร้อยพวงกุญแจลูกปัดโนราการทำผ้าเช็ดหน้ามัดย้อมหัตถกรรมและภูมิปัญญาอื่น ๆ#การเรียนรู้อาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยขนมโค และ น้ำสมุนไพรบัวลอย และ น้ำสมุนไพรอาหาร เครื่องดื่ม และขนมไทยอื่น ๆ———————สอบถามเพิ่มเติม : สำนักงานบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร. 074-289680-2 (คุณศจีพรรณ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมพิธีบวงสรวง สมโภช ที่ฝังรกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ๓ มีนาคม ๒๕๖๘วันนี้เวลา ๐๙.๐๙ น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรปวีณ์ พุ่มเกิด รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมพิธีบวงสรวง สมโภช ที่ฝังรกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด โดยผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๒ ประธานในพิธี และร่วมนำผ้าพระบฏห่มต้นเลียบ รุกขมรดกของแผ่นดินลำดับที่ ๖๓ สถานที่ฝังรกของสมเด็จพระราชมุนี หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ตลอดจนร่วมห่มผ้าพระประจำวันเกิด เนื่องในวันหลวงปู่ทวด ประจำปี ๒๕๖๘ ณ วัดต้นเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาความสิริมงคล และแสดงความเครารพ ความศรัทธาต่อหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด.สำหรับผ้าพระบฏที่ใช้ในการห่มต้นเลียบมีขนาดความยาวรวม ๓๘ เมตร จัดทำโดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปรากฏเป็นภาพทศชาติขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และภาพเสมือนของสมเด็จพระราชมุนี หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดตามประวัติ อาทิ ภาพเหตุการณ์ฝังรก, เหตุการณ์การงูใหญ่คายลูกแก้ว ตลอดจนภาพการล่วงหายของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดจากคาบสมุทรสทิงพระ
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอแสดงความยินดีกับ “นักศึกษาดีเด่น” ด้านศิลปวัฒนธรรม โครงการเวทีคุณภาพกิจกรรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอแสดงความยินดี กับ “นักศึกษาดีเด่น” ด้านศิลปวัฒนธรรม โครงการเวทีคุณภาพกิจกรรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 วันที่ 1 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่1. นางสาวกุลญาดา ศรธรรมกุล2. นายทักษะ นุ่มจอก3. นางสาวสิราวรรณ ชัยชนะนักศึกษาจากโครงการสอนนาฏศิลป์สำหรับนักศึกษา สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่
ถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอแสดงความยินดีกับ บุคลากรดีเด่น ประจำปี 2568 congratulationsสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอแสดงความยินดีกับ บุคลากรดีเด่น ประจำปี 2568 สายสนับสนุน 4 ด้าน ดังนี้1. ด้านบริการดีเด่นลำดับที่ 1 นางภัทรมาส พรหมแก้ว วิทยาเขตปัตตานีลำดับที่ 2 นายอนุชิต ศรีไชย วิทยาเขตหาดใหญ่2. ด้านบริหารดีเด่นลำดับที่ 1 นางสาวพิกุล แก้วน้อย วิทยาเขตหาดใหญ่ลำดับที่ 2 นางสาวจิดาพร แสงนิล วิทยาเขตปัตตานี3. ด้านวิชาชีพดีเด่นลำดับที่ 1 นายทนงศักดิ์ ปานงาม วิทยาเขตหาดใหญ่ลำดับที่ 2 นางมยุรี หมื่นประเสริฐดี วิทยาเขตปัตตานี4. ด้านนวัตกรรมดีเด่นลำดับที่ 1 นางสาวสุภาพร วุกถ้อง วิทยาเขตหาดใหญ่
นางสาวสิริมา ยืนยง ครูนาฏศิลป์ ประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ นำนักศึกษาร่วมแสดงชุด “รวมศิลป์ถิ่นใต้” ร่วมแสดงในงานสมโภชวิหารพระพุทธเจ้าองค์ดำ ทรงศิลปะล้านนา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวสิริมา ยืนยง ครูนาฏศิลป์ ประจำสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตหาดใหญ่ นำนักศึกษาร่วมแสดงชุด “รวมศิลป์ถิ่นใต้” ร่วมแสดงในงานสมโภชวิหารพระพุทธเจ้าองค์ดำ ทรงศิลปะล้านนา ณ วัดหาดใหญ่สิตาราม ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา——————————–การแสดงชุด รวมศิลป์ถิ่นใต้การแสดงชุดนี้เป็นการแสดงที่รวบรวมเอาศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของทางภาคใต้ ทั้งทางทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออกไว้ด้วยกัน รูปแบบการแสดงสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามที่ทรงคุณค่ายิ่ง ความเป็นพหุวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ ประกอบด้วย การแสดงพื้นบ้านโนรา ที่ถือเป็นการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ที่มีความสวยงาม เข้มแข็งของท่วงท่าในการรา รวมไปถึงการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนักแสดง โดยทั่วไปภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล จึงทาให้เกิดการผสมผสานอารยธรรมจากกลุ่มชนหลากหลายเชื้อชาติเกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของชาวใต้ การแสดงชุดนี้จึงได้รวบรวมเอาการราตารีกีปัส หรือ ราพัด และตารีบุหงาราไป ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อันดีงามของทางภาคใต้ตอนบนและตอนล่างรวมไว้ด้วยกันอย่างลงตัว