วันว่าง…ไม่ว่างเปล่า: สงกรานต์ในสายใยวัฒนธรรมใต้

          สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา จัดประเพณีสงกรานต์เพื่อสืบสานประเพณีไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนอย่างต่อเนื่องประจำทุกปี ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกระดับชาติปี พ.ศ.2554 และระดับมนุษยชาติโดยยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 การได้รับการขึ้นทะเบียนนี้สะท้อนถึงความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ในฐานะส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปในอนาคต เพื่อต้องการให้ผู้สนใจได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ จึงได้รวบรวมบทความที่เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ  ได้ดังนี้

ความหมายประเพณีสงกรานต์

          วันสงกรานต์ คือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่มีมาแต่โบราณ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี สมัยต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้ตรงกับปีใหม่สากล ซึ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยคณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 (บุญมี แท่นแก้ว, 2547) แม้ว่าวันขึ้นปีใหม่จะถูกเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่สังคมไทยก็ยังให้ความสำคัญกับวันที่ 13 เมษายน ในฐานะวันขึ้นปีใหม่แบบไทยอยู่อย่างต่อเนื่องไม่เสื่อมคลาย และเรียกช่วงวันดังกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ “ วันตรุษสงกรานต์” อันหมายถึงวันสิ้นปีเก่า และขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งเป็นระยะเวลาเข้าสู่ฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว ได้มาร่วมกันทำบุญแล้วมีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน (กรมการศาสนา , 2545)

          ดังนั้นคำว่า “สงกรานต์” ถ้าเป็นภาษาบาลีแยกออกเป็น 2 ศัพท์ ซึ่งศัพท์ว่า “สังกะระ” แปลว่า ปนกัน ระคนกัน หมายความว่าคาบเกี่ยวกัน และศัพท์ว่า “อะนะตะ” แปลว่า ที่สุด สุดท้าย เมื่อรวมศัพท์ 2 ศัพท์เข้าด้วยกันก็เป็น “สงกรานต์” แปลความหมายว่า ที่สุดของการคาบเกี่ยวกัน หมายถึง การคาบเกี่ยวกันหรือจุดเชื่อมต่อกันระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ ( กรมการศาสนา, 2545) ส่วนคำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่ราศีหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลาสงกรานต์ของไทย จึงเป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ดังนั้น จึงเป็นประเพณีการฉลองขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ โดยทั่วไปมีกำหนด 3 วัน คือ

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หมายถึง วันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ และเป็นวันสิ้นปีเก่า

          วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษอันเป็นราศีตั้งต้นปี ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่

          และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก หรือวันขึ้นปีใหม่ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2554) 

พระพุทธสิหิงค์ สำหรับสรงน้ำเพื่อสิริมงคลในประเพณีสงกรานต์

ณ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (ภาพสถาบันฯ, 2566)

น้ำสำหรับสรงน้ำพระพุทธรูปและรดน้ำผู้ใหญ่ (ภาพสถาบันฯ, 2566)

ตำนานนางสงกรานต์

          ประเพณีสงกรานต์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราวความเป็นมาของนางสงกรานต์ ซึ่งมีหลักฐานการจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร กระทั่งวันหนึ่งเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ ได้อธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาใต้ต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจ จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานบุตรให้องค์หนึ่งนามว่า “ธรรมบาลกุมาร” และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย

          เมื่อธรรมบาลกุมาร โตขึ้นได้เรียนรู้ภาษานก และอายุได้เจ็ดขวบ ก็ได้เรียนจบไตรเพท ธรรมบาลกุมาร จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ซึ่งปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมาร ก็คือ “ตอนเช้าราศีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงราศีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำราศีอยู่ที่ไหน” เมื่อได้ฟังคำถามดังนั้น ธรรมบาลกุมาร ไม่สามารถตอบได้ จึงขอผัดผ่อนท้าวกบิลพรหมไปอีก 7 วัน ระหว่างนั้น ธรรมบาลกุมาร ก็ได้พยายามคิดหาคำตอบ กระทั่งล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่า หากไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้ ก็ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม  นับเป็นความโชคดีที่ธรรมบาลกุมารสามารถฟังภาษานกได้ และบังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัว ผัว เมียเกาะทำรังอยู่ ธรรมบาลกุมารจึงได้ยินนกสองตัวผัวเมียสนทนากัน โดยนางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด สามีได้ตอบนางนกไปว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่า เพราะเหตุแห่งการตอบปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่าคำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้าราศีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยงราศีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นราศีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน 

          เมื่อได้ยินดังนั้น ธรรมบาลกุมาร ก็ได้จดจำสิ่งที่สามีนกพูดไว้ กระทั่งวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมาร ได้นำคำตอบดังกล่าวไปตอบกับท้าวกบิลพรหม เมื่อท้าวกบิลพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่าจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ตามคำท้าไว้ แต่ปัญหาก็คือ ถ้าพระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น อย่างเช่น หากตั้งเศียรไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลก แต่ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง หรือถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะ แห้งขอด

          ด้วยเหตุนี้ ท้าวกบิลพรหม จึงมอบหมายให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร โดยให้นาง ทุงษะเทวี ผู้เป็นธิดาองค์โตเป็นผู้เริ่มต้น ซึ่งนางทุงษะก็ได้อันเชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7 ก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาอันเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุก ๆ ปี และเนื่องจากเทพธิดาทั้ง 7 ปรากฏตัวในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” (จ.เปรียญ อ้างถึงใน พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร, 2562)

        ดังนั้นนางสงกรานต์เป็นตำนานการเชื่อมผ่านประเพณีให้มีเรื่องราวที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติพระธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม  มีบันทึกไว้บนจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งมีเรื่องราวได้บอกถึงคุณลักษณะของนางสงกรานต์และคำทำนายไว้ดังนี้

วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ “นางทุงษะเทวี” ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับคือคือ ปัทมราช ภักษาหารคืออุทุมพร (มะเดื่อ) อาวธ มือขวาจักร มือซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ ในปีนั้นเรือสวน ไร่นา เผือกมัน มิสู้จะแพง

วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ “นางโคราดเทวี” ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารเตลัง อาวุธ มือขวาพระขรรค์ มือซ้ายไม้เท้า พาหนะพยัคฆ์ (เสือ) ในปีนั้นจะแพ้เสนาบดี แพ้ท้าวพระยาและนางพระยา

วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ “นางรากษสเทวี” ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธมือขวาตรีสูรย์ มือซ้ายธนู พาหนะวราหะ (หมู) ในปีนั้นจะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม และมีความเจ็บไข้มาก

วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ “นางมณฑาเทวี” ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธ มือขวาเข็ม มือซ้ายไม้เท้า พาหนะคัทรภะ (ลา) ในปีนั้นท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการแต่ต่างเมือง แต่มักจะแพ้ลูกอ่อน

วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ “นางกิริณีเทวี” ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธ มือขวาขอ มือซ้ายปืน พาหนะคชสาร (ช้าง) ในปีนั้นมักจะแพ้เจ้าไทย พระสงฆ์ราชาคณะจะได้ความเดือดร้อน

วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ “นางกรกมิฑาเทวี” ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธ มือขวาพระขรรค์ มือซ้ายพิณ พาหนะมหิงส์ (ควาย) ในปีนั้นข้าวน้ำ ผลไม้ จะอุดมสมบูรณ์ แต่จะมีฝนและพายุจัด จะเกิดเจ็บตายกันมาก

           วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ “นางมโหธรเทวี” ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธ มือขวาจักร มือซ้ายตรีศูล พาหนะมยุรา (นกยูง) มักจะเกิดภัยอันตรายขึ้นกลางเมืองและจะมีโจรผู้ร้ายชุกชุม (ประเสริม อร่ามศรีวรพงษ์, 2540)

ภาพนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์  (ภาพถ่าย ไทยรัฐออนไลน์ , 2568) 

          สำหรับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2568 นี้ ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ “นางทุงษะเทวี” ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับคือ ปัทมราช ภักษาหารคืออุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธ มือขวาจักร มือซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ โดย (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2568) ได้กลาวถึงการพยากรณ์ว่า เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ “ลาภะ”, ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน, ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนทั้งหลายจะเป็นสุขสมบูรณ์, เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีอาโป (น้ำ) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำมาก

 

ประเพณีสงกรานต์ภาคใต้

 

          ปัจจุบันประเพณีสงกรานต์ในสังคมไทยมี 3 ความหมายด้วยกัน  คือ เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย, เป็นวันครอบครัวและวันผู้สูงอายุ และเป็นวันแห่งการเล่นสาดน้ำ โดยพิธีกรรมและกิจกรรมหลักๆ แต่ละภาคคล้ายคลึงกันคือ การทำบุญตักบาตร เพื่อสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้รู้จักการให้ เสียสละ โดยมิได้มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน , การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อแสดงกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว, การสรงน้ำพระ ทั้งพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูป เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อปูชนียบุคคล และเป็นการดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา ผ่านพิธีกรรมในวันสงกรานต์,  การรดน้ำขอพร เป็นการแสดงความเคารพและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณโดยเฉพาะผู้อาวุโสน้อยพึงปฏิบัติต่อผู้อาวุโสมาก เช่น ลูกกับพ่อ-แม่-ปู ่-ย่า-ตา-ยาย พุทธศาสนิกชนต่อพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น เป็นการแสดงความสุภาพ อ่อนน้อม อ่อนโยน และขอรับพร ซึ่งผู้อาวุโสกว่าเหล่านั้นจะได้อวยชัยให้พรให้อยู่เย็นเป็นสุข และได้ข้อคิดเตือนใจเพื่อเริ่มต้นปีใหม่อย่างไม่ประมาท  และการเล่นรดน้ำเพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้องและมิตรสหาย ด้วยการรดน้ำเพียงเล็กน้อยลงที่ไหล่ หรือที่มือพร้อมกับอวยพรให้มีความสุข (พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร, 2562) ส่วนกิจกรรมอื่นที่ยึดถือแนวปฏิบัติที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แตกต่างกัน ตามความเชื่อและแนวปฏิบัติของคนไทยแต่ละภูมิภาค 

บรรยากาศ รดน้ำพระพุทธสิหิงค์เพื่อสิริมงคลในประเพณีสงกรานต์

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา (ภาพถ่ายสถาบันฯ, 2566) 

บรรยากาศรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ (ภาพถ่ายสถาบันฯ, 2566) 

          สำหรับสงกรานต์ภาคใต้ เรียกว่า วันว่าง ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนประเพณีสงกรานต์ของภาคอื่นๆ จะแตกต่างกัน ก็เฉพาะมีข้อกำหนดว่า ตลอดเวลา 3 วัน ของเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 1315 เมษายนประจำทุกปี ทุกคนต้องทำตัวให้ว่าง ละ และวางกายใจให้เว้นจากภารกิจการงานทุกอย่าง ไม่จับจ่ายใช้สอยเงินทอง ไม่ออกไปหาผักหญ้า ข้าวปลา ไม่ลงโทษเฆี่ยนตีคน หรือสัตว์ ไม่กล่าวคำเท็จและคำหยาบคาย ที่สำคัญคือ ต้องทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใสตลอดทั้ง 3 วัน ดังนั้น ก่อนถึงกำหนดวันตามประเพณี ทุกบ้านเรือนต้องมีการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ไว้ให้พร้อม และพอใช้สำหรับ 3 วันด้วย

          ในสมัยโบราณก่อนถึงกำหนดวันว่าง มักจะมีคณะเพลงบอก คือ คณะนักขับร้องทำนองกลอนสด ออกตระเวนไปตามบ้านเรือนทั่วทุกครัวเรือน เพื่อขับร้องบทกลอนทำนองเพลงบอก แจ้งกำหนดวันว่างของปีนั้นว่า ตรงกับวันใด เดือนใดของปี ซึ่งถือว่า เป็นวันปีใหม่ และอาจบอกรายละเอียดว่า วันใดเป็นวันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ หรือบอกคำทำนายว่า ปีใหม่จะมีฝนตกปริมาณมากน้อยตามฤดูกาลหรือไม่ พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์หรือไม่ มีนาคให้น้ำกี่ตัว บางทีคณะเพลงบอกอาจขับร้องบอกเล่าตำนานสงกรานต์ และบอกด้วยว่า ในปีนั้นนางสงกรานต์คือใคร ทรงอาวุธประเภทใด ภักษาหารคืออะไร เสด็จมาในอิริยาบถใด และด้วยพาหนะอะไร ลงท้ายอาจมีการสรรเสริญให้พรเจ้าของบ้านอีกด้วย เมื่อถึงวันต้นของเทศกาลสงกรานต์           วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันส่งเจ้าเมืองเก่า หรือวันเจ้าเมืองเก่า ด้วยมีความเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ในวันนี้ เทวดาผู้คุ้มครองรักษาเมือง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจ้าเมืองจะเดินทางขึ้นไปชุมนุมกันบนสวรรค์ ส่วนชาวบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือนของตน รวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆ ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังนิยมประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลอยเคราะห์ ทั้งนี้ เพื่อให้เคราะห์กรรมต่างๆ ที่มีอยู่ ลอยน้ำตามเจ้าเมืองเก่าไป และมักมีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญในวันนี้ด้วย โดยให้มีความหมายเหมือนการล้างมลทิน หรือล้างสิ่งไม่เป็นมงคลให้หมดไป ความสะอาดบริสุทธิ์ ความสดใส และสิ่งอันเป็นมงคลทั้งหลายจะได้บังเกิดขึ้นในวันปีใหม่

          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันว่าง หมายถึง เป็นวันที่ปราศจากเทวดาคุ้มครองรักษาบ้านเมือง ชาวบ้านจึงงดการทำงานทุกอย่าง และพากันไปตักบาตร ทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ทำบุญอัฐิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว เสร็จจากการทำบุญเลี้ยงพระ ก็มีพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำบิดามารดาญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ พิธีการรดน้ำขอพรบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือจะแตกต่างจากภาคอื่นๆ ตรงที่ลูกหลานจะจัดเตรียมผ้าใหม่ เพื่อมากราบไหว้ขอขมา และขอพรไปพร้อมกัน จากนั้นจะพร้อมใจกันอาบน้ำ สระผมให้บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ก่อน แล้วให้นุ่งห่มผ้าใหม่ที่จัดเตรียมให้ พิธีรดน้ำนี้เรียกว่า สระหัววันว่าง

            วันที่ 15 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล เรียกว่า วันรับเจ้าเมืองใหม่ หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า วันเบญจา เป็นวันต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ ที่ได้รับมอบหมายให้มาปกปักรักษาดูแลเมืองแทนเทวดาองค์เดิมที่กลับขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้ว ในวันนี้ ชาวบ้านมักแต่งตัวด้วยเสื้อผ้า และเครื่องประดับใหม่อย่างสวยสดงดงาม และยังคงนำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด นอกจากกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการปล่อยนกปล่อยปลา ก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำกัน รวมทั้งการละเล่นพื้นเมือง และมหรสพต่างๆ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆ  (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม อ้างถึงใน พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร, 2562)  

มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

 

          ประเพณีสงกรานต์เป็นสิ่งที่งดงามมีคุณค่า สะท้อนถึงความเป็นไทย เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษากายใจและ สิ่งแวดล้อม เป็นโอกาสของการแสดงความกตัญญูและความปรารถนาดีต่อผู้มีพระคุณ การแสดงความเอื้ออาทรต่อ ครอบครัว ญาติมิตรและชุมชน จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2554 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติในปีพุทธศักราช 2566

บรรณานุกรม

กรมการศาสนา. (2545).  ศาสนพิธีฉบับกรมการศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพ ฯ : การศาสนา.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2554). สงกรานต์. สืบค้นเมษายน 2, 2568 จาก https://ich-thailand.org/heritage/detail/6291e5b7978f238e61f77d2b

ไทยรัฐออนไลน์. (2568). นางสงกรานต์ 2568 “ทุงสะเทวี” นอนหลับตาบนหลังครุฑ ประชาชนจะสุข สมบูรณ์. สืบค้นเมษายน 3, 2568 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2845614

บุญมี แท่นแก้ว. (2547). ประเพณีและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ประเสริฐ อร่ามศรีวรพงษ์. (2540). “ย้อนอดีต” วันสงกรานต์. วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน. 48(4). 16-21.

พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร (2562). วิเคราะห์คุณค่าทางปรัชญาในประเพณีวันสงกรานต์.วารสารวิจัยธรรม  ศึกษา. 2(2), 8-17.  

ผู้เขียน/เรียบเรียง

ประสิทธิ์ รัตนมณี นักวิจัยชำนาญการ

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาจัดกิจกรรม “สืบสานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2568”

ร่วมสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย ประจำปี 2568 เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทย

.

9 เมษายน 2568 ณ ลานพระพุทธษิณสมานฉันท์ พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้จัดกิจกรรม “สืบสานประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี 2568” โดยมีพระสงฆ์ 5 รูป ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายเครื่องไทยธรรมและภัตตาหารเพล เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย

.

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ผู้บริหารคณะภายในวิทยาเขตปัตตานี ผู้แทนจากวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี เทศบาลเมืองรูสะมิแล คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างอบอุ่น

.

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย     พิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์จำลอง     รดน้ำขอพรผู้อาวุโส     การแสดงมโนราห์จากคณะมโนราห์ สถาบันฯ     การแสดงรำวง “ผู้สูงวัยใจเบิกบาน” ร่วมกับเยาวชน     การสาธิตเหยียบเส้นขนมจีนแบบโบราณ และกิจกรรม “ข้าวหม้อแกงหม้อ” ส่งเสริมความสัมพันธ์ในประชาคม .. และชุมชน

.

พร้อมรณรงค์การลดขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยเชิญชวนให้นำภาชนะและแก้วน้ำส่วนตัวมาร่วมกิจกรรม เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ทั้งวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสนี้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอขอบคุณบุคลากรจากส่วนงานและคณะต่าง ๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมจัด และเข้าร่วมกิจกรรม “ข้าวหม้อแกงหม้อ” ด้วยความอบอุ่น เป็นกันเอง และเต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ให้คงอยู่ในสังคมไทย สร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และเสริมสร้างสายใยความผูกพันระหว่างคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนตลาดนัดวัฒนธรรม ‘กือดาบูดายอ’ ด้วยนวัตกรรมการสื่อสารและออกแบบ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากจากทุนวัฒนธรรมปัตตานี”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนตลาดนัดวัฒนธรรม กือดาบูดายอด้วยนวัตกรรมการสื่อสารและออกแบบ เพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากจากทุนวัฒนธรรมปัตตานี” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ 2568 

.

โดยมี

ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข                 ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการ

ผู้ร่วมวิจัย:

ผศ.ศิริชัย พุ่มมาก                หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

ดร.ปิติ  มณีเนตร               หน่วยงาน: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.จิรัชยา  เจียวก๊ก       หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์         หน่วยงาน :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผศ. ดร. ศมลพรรณ ธนะสุข  หน่วยงาน :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร

นางสาวนราวดี  โลหะจินดา หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิ

นายประสิทธิ์ รัตนมณี           หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

นางสาวจิดาพร  แสงนิล        หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

.

#บพท #วัฒนธรรม #กือดาบูดายอ #PGIC #PSU #PSUpattani  #ทุนวิจัย #Congratulations #ขอแสดงความยินดี

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจากโครงการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมทางทะเลในเอเชีย (MAHS) มหาวิทยาลัยเกียวโต

28 มีนาคม 2568

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจากโครงการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมทางทะเลในเอเชีย (MAHS) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล ฟีเนอร์ จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้มี ดร.อภิรดา โกมุท จากศูนย์ประสานงานประจำประเทศไทย และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะ ที่เดินทางมาเก็บข้อมูลและสำรวจแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินเรือและชุมชนชายฝั่ง

.

โครงการ MAHS มีเป้าหมายในการบันทึกข้อมูลเชิงดิจิทัลของแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางทะเล โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบเปิด (open access) สามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโตและมหาวิทยาลัยออซฟอร์ด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาค

.

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้เข้าชมโบราณวัตถุที่จัดแสดงในหอวัฒนธรรมภาคใต้ รวมถึงเหรียญโบราณและเครื่องถ้วย ณ พิพิธภัณฑ์พระเทพญานโมลี เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมในภูมิภาค

.

การต้อนรับครั้งนี้เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิจัยและบุคลากรของสถาบันฯ เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัยและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางทะเลในระดับนานาชาติต่อไป

สถาบันฯ ต้อนรับศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร เข้าพบปะและแสดงความขอบคุณแก่คณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานี

26 มีนาคม 2568

ดร.ปิติ มณีเนตร รองผู้อำนวยการสถาบันฯ รับมอบของขวัญแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ จากศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดยนางสาววิภาวรรณ วาทีกานท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร ในการเดินทางเข้าพบปะและแสดงความขอบคุณแก่คณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานี ที่ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ มาโดยตลอด

ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือก พนักงานเงินรายได้สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา นักวิชาการศึกษา ปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ 1 ตำแหน่ง

🔔สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือก #พนักงานเงินรายได้ 1 ตำแหน่ง 🔔

.

✅ ตำแหน่ง : นักวิชาการศึกษา

✅ ปฏิบัติงาน : งานด้านคอมพิวเตอร์

✅ สถานที่ปฏิบัติงาน: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

✅ คุณสมบัติผู้สมัคร : วุฒิการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์

และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องโดยต้องศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

✅ รับสมัคร Online: ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 21 เมษายน 2568

✅ สมัครผ่านระบบรับสมัครงานของมหาวิทยาลัย https://resume.psu.ac.th/

✅ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://link.psu.th/XfEPtm

.

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก วันที่ 25 เมษายน 2568

.

☎️สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทรศัพท์หมายเลข 0-7333-1250 ในวันและเวลาราชกา

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เชิญชวนร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568

✨สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เชิญชวนร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568 ✨💦

.

📅 ในวันที่ 9 เมษายน 2568 📍 ณ บริเวณลานพระพุทธษิณสมานฉันท์ พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

.

👉กิจกรรมภายในงาน :

🌸พิธีสงฆ์

🌸สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์จำลอง

🌸รดน้ำขอพรผู้อาวุโส

🌸การแสดงมโนราห์

🌸กิจกรรมสาธิตเหยียบเส้นขนมจีนแบบโบราณ

🌸การแสดงรำวง “ผู้สูงวัยใจเบิกบาน” ร่วม เยาวชน คณะมโนราห์ สถาบันฯ ม.อ.ปัตตานี

🌸กิจกรรมข้าวหม้อแกงหม้อ

.

เชิญชวนใส่เสื้อฮาวาย / ลายดอก 🌸🌸🌸

.

และร่วมรณรงค์ เพื่อลดขยะภายในมหาวิทยาลัย ด้วยการนำภาชนะและแก้วน้ำส่วนตัวมาร่วมกิจกรรม ♻️

.

ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ไทย สืบสานวัฒนธรรมอันงดงามของชาวไทยไปด้วยกัน!!

_

#Songkran #CulturePSU  #สงกรานต์

.

ติดตามข่าวสารกิจกรรมของสถาบันฯ ได้ที่

Website : https://culture.psu.ac.th/

Facebook : https://www.facebook.com/culture.psu

Instagram : https://www.instagram.com/culture.psu/

Youtube : https://www.youtube.com/@culture_psu

Tiktok: https://www.tiktok.com/@culture.psu

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมกับ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี จัดกิจกรรม “รอมฏอนสัมพันธ์ ปี 2568”

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ร่วมกับ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี จัดกิจกรรม “รอมฏอนสัมพันธ์ ปี 2568″ เสริมสร้างความสัมพันธ์และสืบสานวัฒนธรรมอิสลาม

.

วันที่ 18 มีนาคม 2568 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับคณะวิทยาการสื่อสาร จัดกิจกรรม “รอมฏอนสัมพันธ์ ปี 2568″ ณ อาคารคณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี เพื่อส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรมและสานสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร นักศึกษา และครอบครัวของบุคลากรในมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามในเดือนรอมฏอน ซึ่งเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก

.

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี ดร.ภักดี ต่วนศิริ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร และ ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ให้การต้อนรับและร่วมละศีลอดกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

.

บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความสมัครสมานสามัคคี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอิสลามและปฏิบัติพิธีละศีลอด ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพในสังคมพหุวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

.

กิจกรรม “รอมฏอนสัมพันธ์” นี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาในการสนับสนุนและสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอิสลาม พร้อมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

.

คณะวิทยาการสื่อสารและสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสร้างบรรยากาศในงานให้เต็มไปด้วยความอบอุ่นและแบ่งปัน ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมอิสลามสานสัมพันธ์อันดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่านเช่นนี้ในโอกาสต่อไป  

.

#รอมฎอนสัมพันธ์ #คณะวิทยาการสื่อสาร #สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา #รอมฎอน #PSUPattani #PSU #สงขลานครินทร์ #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ผู้บริหารสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มอบอินทผาลัมละศีลอดแก่บุคลากรสถาบันฯ ที่นับถือศาสนาอิสลาม

18 มีนาคม 2568 ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข ผู้อำนายการสถาบันฯ พร้อมด้วย ดร.ปิติ มณีเนตร รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตปัตตานี มอบอินทผาลัมละศีลอดแก่บุคลากรสถาบันฯ ที่นับถือศาสนาอิสลาม พร้อมให้กำลังใจแก่บุคลากรมุสลิมในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติศาสนากิจในช่วงเดือนรอมฎอน

สถาบันฯ ร่วมทำบุญเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครบรอบ ๕๗ ปี

๑๓ มีนาคม ๒๕๖๘

ดร.ปิติ มณีเนตร รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาเขตปัตตานี พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ร่วมทำบุญเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครบรอบ ๕๗ ปี เพื่อร่วมรำลึกถึงการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือวันที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีผลบังคับใช้ ณ โถงทางเข้าอาคาร ชั้น ๑ สำนักงานวิทยาเขตปัตตานี   โดยมี ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ประธานในพิธี ร่วมด้วยคณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานี คณะผู้บริหารคณะหน่วยงานต่างๆ บุคลากร ร่วมพิธี